Public Hearing on Market Making Rules

2023-12-01

อกสารรับฟังความคิดเห็น

เลขที่ 1/2566

เรื่อง การแก้ไขหลักเกณฑ์การจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Making Rules)

เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด (“บริษัทฯ”) ได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง โดยท่านสามารถส่งความเห็นหรือข้อเสนอแนะให้แก่บริษัทฯ ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfSjiGKiHlguiXskJr6J6RPNzCmFUmSlFG_DgpNf-eVnJvBYQ/viewform?usp=sf_link

วันสุดท้ายของการแสดงความคิดเห็น คือ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566

บริษัทฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะมา ณ โอกาสนี้

1. ที่มา

เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ข้อ 39 วรรค 2 ของประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 ที่กำหนดให้บริษัทฯ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียจากการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ และเนื่องจากบริษัทฯ มีแผนจะแก้ไขหลักเกณฑ์การจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์จริงของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบดังกล่าว ตามรายละเอียดในเอกสารฉบับนี้

2. เป้าหมายที่ต้องการบรรลุ

เพื่อให้บริษัทฯ มีความคล่องตัวในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ที่เหมาะสมให้แก่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องการแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่องเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในปัจจุบัน

3. หลักการที่ปรับปรุง

ลำดับ

หลักเกณฑ์การจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง

หลักการที่ปรับปรุง

1

คุณสมบัติ

กำหนดให้ผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยหรือสัญชาติต่างประเทศ หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ 

โดยต้องแสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาตามสมควรตามหลักเกณฑ์การระบุตัวตนภายใต้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่เกี่ยวข้อง (กรณีเป็นนิติบุคคล) เช่น

-กรณีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย ให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชน

-กรณีบุคคลธรรมดาสัญชาติต่างประเทศ ให้ใช้หนังสือเดินทางและหนังสืออื่นที่ออกโดยหน่วยงานราชการของประเทศไทยหรือประเทศเจ้าของสัญชาติ

-กรณีนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้ใช้หนังสือรับรองบริษัทออกโดยกระทรวงพาณิชย์

-กรณีนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศนั้น

2

เงินทุนและฐานะทางการเงิน

กำหนดให้ผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องต้องมีสินทรัพย์อย่างน้อย 5 ล้านบาทหรือมูลค่าเทียบเท่าในสกุลเงินอื่นหรือสินทรัพย์ดิจิทัล (มูลค่า ณ วันสมัคร) 

โดยต้องแสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาแสดงมูลค่าสินทรัพย์ดังกล่าวตามสมควร เช่น bank statement 3 เดือนล่าสุด เป็นต้น

3

ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ

กำหนดให้ผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องต้องมีความรู้ความเข้าใจในการทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของสินทรัพย์ดิจิทัล 

โดยต้องแสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาตามสมควร เช่น หลักฐานการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น, หลักฐานแสดงปริมาณการทำคำสั่งซื้อขายในฐานะ maker เป็นต้น

4

การปฏิบัติตามกฎหมาย

กำหนดให้ผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง รวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์การระบุตัวตนภายใต้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่เกี่ยวข้อง (กรณีเป็นนิติบุคคล) ต้องไม่พบรายชื่อในการตรวจสอบรายชื่อกับรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดและ UN List ของสำนักงาน ปปง. หรือรายชื่ออื่นที่เข้าข่ายหรือเป็นที่น่าสงสัยว่าเคยหรือมีส่วนร่วมกับการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

5

แผนงานสำหรับการทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่อง

กำหนดให้ผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องต้องจัดทำแผนการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องให้แก่บริษัท โดยมีเนื้อหาอย่างน้อยครอบคลุม แผนกลยุทธ์และกระบวนการทำงานดูแลสภาพคล่องที่แสดงความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ รวมไปถึงมีนโยบายหรือมาตรการการจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอ

6

ระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

กำหนดให้ผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องต้องจัดทำคำอธิบายเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีหรือระบบงานอื่นที่จะใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง และรวมไปถึงการชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและจำเป็นกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่

4. ผู้เกี่ยวข้อง/บุคคลที่อาจได้รับผลกระทบ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ผู้เกี่ยวข้อง

ผลกระทบเชิงบวก

ผลกระทบเชิงลบ

1. บริษัท

เพิ่มโอกาสให้บริษัทและทำให้บริษัทมีความคล่องตัวในการคัดเลือกผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ต้องใช้ความระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะได้ผู้ดูแลสภาพคล่องที่เหมาะสมและมีคุณภาพต่อการประกอบธุรกิจของบริษัทมาปฏิบัติหน้าที่

2. ผู้สนใจสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องให้แก่บริษัท

เปิดกว้างให้มากขึ้นและเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางประการให้ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องให้แก่บริษัท สามารถสมัครเพื่อขอรับพิจารณาได้

การแสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาบางอย่างอาจเป็นความลับและไม่อาจเปิดเผยได้

3. ลูกค้า

ได้ทำการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีผู้ดูแลสภาพคล่องที่มีคุณภาพ

หากบริษัทคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่องอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ลูกค้าอาจต้องพบพฤติกรรมการทำรายการที่ไม่เหมาะสมจากผู้ดูแลสภาพคล่อง