BLUR ตลาด NFT ผู้ก้าวขึ้นมาเขย่าบัลลังค์ Opensea
BLUR ตลาด NFT ผู้ก้าวขึ้นมาเขย่าบัลลังค์ Opensea
BLUR (BLU)
เป็นที่ทราบกันดีว่าตลาด NFT ที่ครองตลาดมาอย่างยาวนานนั้นคือ Opensea ไม่ว่าตลาดเจ้าอื่นจะแข่งขันอย่างไรก็เอาชนะไม่ได้ ทั้งด้านการซื้อ การขาย หรือการเทรดที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น Opensea เรียกได้ว่ากินรวบ แต่การมาของ BLUR ทำให้เกิดความสนใจแก่เหล่านักลงทุนมาก เนื่องจาก Blur เริ่มต้นด้วยการลิสต์เหรียญ BLUR และได้ทำการแจก Airdrop ใน Season 1 วันที่ 15 เมษายน ปี 2023 ที่ผ่านมา หลังจากนั้น Volume การซื้อขายใน Blur ก็สามารถกินส่วนแบ่งในตลาดไปได้เยอะมาก และด้วยความที่การพุ่งทะยานอย่างต่อเนื่องที่ไม่หยุดนี้ ทำให้ Volume ของการเทรด Blur NFT สูงขึ้นมากเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วจนแซงแม้แต่ Volume ของ Opensea ไปอย่างไม่น่าเชื่อ
Blur ได้ประสบความสำเร็จในการแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก OpenSea โดยใช้ค่าธรรมเนียมต่ำและการแจก Airdrop มาเป็นประโยชน์ในการแข่งขัน และมีการแจก Airdrop เพิ่มเติมให้กับผู้ที่มาใช้งาน และยังเป็นเจ้าแรกในการสร้างระบบ Point System ซึ่งเป็นการให้ Incentive แก่ผู้ที่ตั้งราคาที่ใกล้ราคา Floor NFT เพื่อรับ Point ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity) ให้กับแพลตฟอร์มอีกด้วย
Blur ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้เป็นที่น่าสนใจและแตกต่างจากตลาด NFT อื่นๆ โดยเฉพาะในหมวดหมู่ค่าลิขสิทธิ์ของผู้สร้าง NFT BLUR ให้การสนับสนุนครีเอทีฟโฆษณาโดยมอบ token BLUR พิเศษให้กับผู้ที่ชำระค่าลิขสิทธิ์เป็น Incentive และมุ่งมั่นที่จะสร้างสมดุลที่ยุติธรรมระหว่างผู้สร้างและเทรดเดอร์
Feature
จากข้อมูลหน้า Official Website ของ Blur (https://bit.ly/4auN5gN) ระบุไว้ว่า Blur เป็น NFT Market Place ที่มีฟังก์ชัน Sweep and Snipe ที่เร็วกว่าและมีฟีดราคาแบบ real-time จุดเด่นของ Blur คือการเป็นตลาดที่ออกแบบมาสำหรับ Trader ที่มีประสบการณ์ Blur มี NFT และสินทรัพย์ดิจิทัลมากมายให้เลือกซื้อ ซึ่งรวมถึงรายการจากตลาดต่าง ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงด้วยสภาพคล่องอย่างรวดเร็วและตัวเลือกการทำธุรกรรมขั้นสูง เช่น Batch-shelf, Floor-sweeping และธุรกรรม NFT ที่ต้องทำการจองล่วงหน้า
Blur ยังมีฟีเจอร์ Blend ซึ่งมาจากการที่มี Paradigm เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ และต้องการผลักดันให้ Blend กลายเป็น DeFi ซึ่ง Blend จะเข้ามาช่วยให้การซื้อขาย NFT ให้ราบรื่นขึ้นผ่านการให้กู้ยืมแบบ peer-to-peer และการบูรณาการกับตลาดที่หลากหลาย ช่วยเพิ่มประสบการณ์การซื้อขายโดยรวม ด้วยการมุ่งเน้นไปที่เทรดเดอร์และนักสะสมมืออาชีพ
นอกจากนี้ Interface ของ Blur เรียกว่าใช้งานง่าย สะดวก และไม่เกะกะอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น Blur ไม่มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายสำหรับการขาย NFT และเทรดเดอร์สามารถดูสินทรัพย์ดิจิทัลของตนได้ผ่านแถบ Portfolio ของ Blur.io ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่หายาก (Rarity), Value, กำไรขาดทุน และอื่น ๆ อีกด้วย
ผู้ก่อตั้งและการระดมทุน
BLUR ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มนักพัฒนา Web3 ที่ใช้นามแฝง ผู้ก่อตั้งใช้ชื่อว่า Pacman และ, Zeneca ผู้เป็น Founder ของ ZenAcademy และ The 333 Club ที่ทำหน้าที่เป็น Director ของ Blur ก่อนที่ Pacman นั้นจะเปิดเผยชื่อจริงในภายหลังคือ Tieshun Roquerre จากเนื่องรูปภาพที่เขาโพสท์ลงโซเชียลมีเดียและสาเหตุที่ใช้ชื่อ Pacman เพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียง นอกจากนี้ยังมีผู้ให้การสนับสนุน BLUR รายใหญ่อย่าง Paradigm อีกด้วย
อิทธิพลบน Social Media
BLUR มียอดผู้ติดตามบน X (Twitter เดิม) 265.6K และมีสมาชิก discord 76,331 ราย
Tokenomics
BLUR เป็น ERC-20 token ทำหน้าที่เป็น Governance token ของ Blur marketplace และ Blend ซึ่งเป็นโปรโตคอลให้กู้ยืมเงิน และผู้ถือ Blur ยังได้สิทธิ์โหวตการตัดสินใจต่างๆ ด้วย
BLUR มี supply ทั้งหมด 3,000,000,000 โดยแบ่งดังนี้
Community: 51%
Contributors (both in the past and in the future): 29%
Investors: 19%
Advisor: 1%
ปัจจุบันมี Circulating Supply 115,200,000 ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2024
Market Cap และราคา
ปัจจุบัน ราคา Token BLUR อยู่ที่ 0.2067 USDT และมี Market Cap ถึง 351 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว ตามข้อมูลราคาจาก CoinMarketCap (http://bit.ly/3UMNN4m) วันที่ 27 มิถุนายน 2024
บทความนี้เป็นการสรุปจากบทความอ้างอิงเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของคุณเท่านั้น
คำเตือน: คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
อ้างอิงข้อมูลจาก: