มือใหม่ควรรู้! กระเป๋าแบบ Custodial กับ Non-Custodial ต่างกันอย่างไร

2024-08-14

การกระโดดเข้าสู่โลกของสกุลเงินดิจิทัลนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือ กระเป๋าเงินดิจิทัล นี่คือเครื่องมือที่เปรียบเหมือนเบิกทางในการเริ่มทำธุรกรรม ซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโต หรือใช้แอปพลิเคชันบนบล็อกเชน การทำความเข้าใจว่ากระเป๋าเงินดิจิทัลทำงานอย่างไรและความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกระเป๋าเงินแบบ Custodial และ Non-Custodial นั้นจึงมีความสำคัญ

ลองนึกภาพกระเป๋าเงินดิจิทัลเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อคุณกับเครือข่ายบล็อกเชน เครื่องมือที่ดีนี้ช่วยให้คุณส่งและรับคริปโต หรือใช้แอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Application: dApps) ได้

ในความเป็นจริงแล้ว กระเป๋าเงินดิจิทัลไม่ได้เก็บคริปโตไว้ให้คุณ แต่จะแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการใช้งานคริปโต 

กระเป๋าเงินดิจิทัลของคุณประกอบด้วยสององค์ประกอบที่สำคัญ นั่นคือคีย์สาธารณะ (Public Key) และ คีย์ส่วนตัว (Private Key) ในการรับคริปโต ใครบางคนสามารถทำธุรกรรมไปยังที่อยู่ที่สร้างโดยของกระเป๋าเงินของคุณ คุณสามารถแบ่งปันที่อยู่กระเป๋าเงินและรหัสสาธารณะของคุณได้อย่างเปิดเผย

อย่างไรก็ตาม Private Key เปรียบเสมือนรหัสผ่านลับสุดยอด ที่ใช้ในการเข้าถึงสินทรัพย์ในนั้น และใช้ในการทำธุรกรรม ตราบใดที่ Private Key ของคุณยังคงถูกเก็บไว้เป็นความลับและปลอดภัย คุณจะสามารถเข้าถึงคริปโตของคุณจากอุปกรณ์ใดก็ได้ และแน่นอนว่า ถ้าเกิดคนอื่นได้มันไป เขาก็สามารถเข้าถึงสินทรัพย์คริปโตของคุณได้เช่นกัน ดังนั้นรักษามันไว้ให้ดี

ถึงแม้คริปโตจะเป็นแบบดิจิทัล แต่กระเป๋าเงินที่ใช้เก็บ Public Key และ Private Key นั้นสามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เราสามารถเก็บคีย์ไว้ด้วยการเขียนใส่กระดาษ ใช้งานจากแอพบนคอมพิวเตอร์ หรือเก็บไว้ใน Hardware Wallet และนอกจากใช้เก็บเหรียญคริปโตแล้ว กระเป๋าเงินบางประเภทก็รองรับ NFT อีกด้วย

แต่ไม่ว่ากระเป๋าเงินจะอยู่ในรูปแบบใด กระเป๋าคริปโตก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ Custodial และ Non-Custodial 

Custodial Wallet

ลองนึกภาพว่าคุณมีกระเป๋าอยู่ใบหนึ่ง โดยที่คุณไม่ได้เป็นคนดูแลมัน แต่มีบุคคลที่สามคอยดูแลจัดการให้ ทั้งการควบคุม Public Key และ Private Key รวมไปถึงการคอยอนุมัติทำธุรกรรมต่าง ๆ 

หมายความว่าคุณจะไม่สามารถควบคุมเงินหรือทำธุรกรรมได้ด้วยตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งนี้ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป

Bitcoin ยุคแรก ๆ ผู้ใช้ต้องสร้างและจัดการกระเป๋าเงินและ Private Key ของตัวเอง วิธีการแบบนี้มีประโยชน์ แต่อาจเป็นภาระและมีความเสี่ยงสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่ช่ำชองนัก หาก Private Key ของคุณถูกสูญหายหรือมีคนอื่นมาขโมยไป คุณจะสูญเสียทรัพย์สินคริปโตของคุณไปได้ง่าย ๆ เลย โดยมีรายงานว่า Bitcoin มากกว่า 3,000,000 BTC สูญหายไปตลอดกาลเพราะเจ้าของกระเป๋าทำ Private Key หาย

การกู้คืนกระเป๋าเงินคริปโตเป็นเรื่องที่ยากมากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าเกิดว่าเจ้าของกระเป๋าเงินเป็นคนเดียวที่ถือครอง Private Key แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าวได้ โดยอนุญาตให้บุคคลที่สามเข้ามาช่วยดูแลและเข้าถึงทรัพย์สินของเรา

แม้ว่าเราจะลืมรหัสผ่านเข้าเว็บเทรด แต่เราก็ยังสามารถเข้าถึงบัญชีและทรัพย์สินของเราได้โดยติดต่อฝ่ายสนับสนุนลูกค้า อย่างไรก็ตาม หากเราใช้กระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial มันก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะดูแลปกป้องกระเป๋าเงินและสินทรัพย์ของเราเอง

ในบางครั้ง การใช้บริการกระเป๋าเงินแบบ Custodial ก็ดูจะสมเหตุสมผล แต่นั้นก็หมายถึงการไว้วางใจบุคคลที่สาม ให้สามารถเข้าถึงสินทรัพย์และ Private Key ของเราด้วย ดังนั้นการเลือกผู้ให้บริการที่จะเข้ามาดูแลก็เป็นเรื่องสำคัญ

Non-Custodial Wallet

กระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial ทำให้คุณสามารถควบคุมสินทรัพย์และ Private Key ด้วยตัวคุณเองอย่างสมบูรณ์ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการควบคุมเงินทุนของตัวเองอย่างเต็มที่ กระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial ช่วยให้เราสามารถซื้อขาย หรือทำธุรกรรมอื่น ๆ ได้โดยตรงจากกระเป๋าของเราเอง นักลงทุนที่มีประสบการณ์ซึ่งเข้าใจวิธีจัดการและปกป้อง Private Key และ Seed Phase มักจะชอบตัวเลือกนี้

สำหรับการใช้งาน Decentralized Exchanges (DEX) หรือ Decentralized Applications (dApps) เช่น Uniswap SushiSwap PancakeSwap และ QuickSwap เราจำเป็นต้องใช้กระเป๋าแบบ Non-Custodial

Trust Wallet และ MetaMask เป็นผู้ให้บริการกระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial ยอดนิยม แต่โปรดจำไว้ว่าด้วยกระเป๋าเงินเหล่านี้ คุณคือผู้รับผิดชอบ Private Key และ Seed Phase ของคุณแต่เพียงผู้เดียว

ข้อดีข้อเสียของ Custodial Wallet

ข้อเสียหลักของ Custodial Wallet คือการที่เราต้องไว้วางใจให้บุคคลที่สามมาดูแลเงินและ Private Key ของเรา และผู้ให้บริการส่วนใหญ่ต้องการการยืนยันตัวตน (Know Your Customer: KYC) อย่างไรก็ตามข้อดีคือความสบายใจและความสะดวกสบาย คุณไม่ต้องเครียดว่าจะทำ Private Key หาาย และสามารถติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าได้ตลอดเวลาหากว่ามีปัญหา

เมื่อเลือกใช้บริการ Custodial ให้เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือซึ่งมีหลักประกันและความคุ้มครองสูง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการได้รับการควบคุมและปฏิบัติตาม ผู้ดูแลคริปโตบางรายมีข้อกำหนดเฉพาะที่คุณอาจไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน Ceffu ให้บริการเฉพาะลูกค้าระดับองค์กรเท่านั้น

ข้อดีข้อเสียของ Non-Custodial Wallet

ถ้าหากคุณใช้กระเป๋าแบบ Non-Custodial คุณสามารถ “Be Your Own Bank” คุณจะควบคุมสินทรัพย์และ Private Key ของคุณเองแบบ 100% สามารถทำธุรกรรมได้เร็วกว่าเนื่องจากคุณไม่ต้องรอการอนุมัติจากบุคคลที่สาม นอกจากนี้หากไม่มีผู้ดูแล ก็ไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

ข้อเสียของกระเป๋าเงิน Non-Custodial คือมันมักจะไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ และอาจเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับมือใหม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริการเหล่านี้การพัฒนาอยู่ตลอด มันจึงใช้งานง่ายขึ้นเรื่อย ๆ อย่าลืมว่าคุณต้องรับผิดชอบ Private Key ของคุณแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นต้องใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษามันไว้ให้ดี

วิธีการเก็บรักษากระเป๋าเงินของคุณให้ปลอดภัย

  • ใช้รหัสผ่านที่รัดกุม

  • เปิดใช้งานการรับรองความถูกต้องด้วยสองปัจจัย (2 Factor Authenticator: 2FA) เพื่อเพิ่มการป้องกัน

  • ระมัดระวังเกี่ยวกับการหลอกลวงและการโจมตีแบบ Phishing

  • ระมัดระวังเมื่อคลิกลิงก์แปลก ๆ หรือการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ใหม่

กระเป๋าเงินทั้งสองประเภทเหมาะสำหรับการจัดเก็บสินทรัพย์คริปโตรวมถึง NFT นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้กระเป๋าเงินทั้งสองแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระเป๋าเงินที่คุณใช้สามารถรองรับประเภทของคริปโตที่คุณต้องการจัดเก็บได้ เนื่องจากกระเป๋าเงินบางประเภทไม่สามารถจัดเก็บคริปโตได้ทุกชนิด

เครือข่าย Blockchain ที่แตกต่างกัน ก็ใช้คริปโทเคอร์เรนซีหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามมาตรฐานโทเคน แต่โปรดจำไว้ว่าโทเคนเดียวกันสามารถทำงานบนเครือข่ายที่แตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น BNB เป็น โทเคนมาตรฐาน BEP-20 บนเครือข่าย BNB Smart Chain และเป็นโทเคนมาตรฐาน BEP-2 บนเครือข่าย BNB Beacon Chain

มาตรฐานโทเคนที่พบบ่อย ๆ ได้แก่

  • BNB Smart Chain: BEP-20, BEP-721, BEP-1155

  • Ethereum: ERC-20, ERC-721, ERC-1155

  • Solana: SPL

สรุปแล้วเราควรใช้กระเป๋าแบบ Custodial หรือ Non-Custodial ? 

ผู้ใช้คริปโตส่วนใหญ่ใช้ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับความต้องการของพวกเขา หากคุณต้องการควบคุมทรัพย์สินของคุณอย่างเต็มที่หรือต้องการท่องโลก DeFi ก็ไปใช้ Non-Custodial แต่ถ้าคุณต้องการให้มีผู้ให้บริการมาช่วยจัดการ ก็ให้เลือก Custodial ที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้

โปรดจำไว้เสมอ ไม่ว่าจะใช้กระเป๋าเงินแบบ Custodial หรือ Non-Custodial กระเป๋าเงินที่ปลอดภัยที่สุดคือกระเป๋าเงินที่คุณควบคุมมันได้

อ้างอิงจาก : https://bit.ly/46kdiy2 

.

ติดตามข้อมูลสาระน่ารู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีได้ที่นี่ และดาวน์โหลด Binance TH by Gulf Binance ได้ที่ :  https://bit.ly/try-BinanceTH

คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้