Transactions Fees ? ทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน
Transactions Fees ? ทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน
โอนเสียค่าธรรมเนียม? ใครเสียกัน เข้าใจค่าธรรมเนียมในบล็อกเชน
ทำไมเราต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน ?
บนเครือข่ายบล็อกเชนส่วนใหญ่ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอน การฝาก หรือการถอนเงินดิจิทัล และนี่คือเหตุผลหลักสองประการที่ทำไมเราต้องจ่าย Transactions Fees
ประการแรกคือ ค่าธรรมเนียมทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการยับยั้งการทำธุรกรรมถี่ ๆ เป็นจำนวนมาก หรือการ Spam transaction ทำให้การโจมตีด้วยวิธีการดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายที่สูง และประการที่สองคือ ค่าธรรมเนียมเป็นแรงจูงใจสำหรับ Validator โดยมันเป็นรางวัลให้กับคนที่ทำการตรวจสอบธุรกรรมและการมีส่วนร่วมกับเครือข่าย ซึ่งเหมือนกับธนาคารในอดีตที่เก็บค่าธรรมเนียนในการโอนแต่ละครั้ง (แม้ในปัจจุบัน การโอนของธนาคารเราเหมือนจะไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่ในความเป็นจริง การโอนแต่ละครั้งมีต้นทุน ที่ธนาคารนำไปแทรกไว้ในจุดอื่นๆแทนนั้นเอง)
แม้ว่าค่าธรรมเนียมสำหรับการทำธุกรรมบนบล็อกเชนมักจะต่ำ แต่ในช่วงเวลาที่เครือข่ายแออัดก็สามารถแพงขึ้นได้ในช่วงเวลาที่เครือข่ายแออัด ในฐานะผู้ใช้ เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการจ่ายค่าธรรมเนียมเท่าใด หากจ่ายมากก็จะเร็วกว่าคนจ่ายน้อยนั้นเองค่าธรรมเนียมที่เราเลือกจ่าย อาจส่งผลต่อการประผลธุรกรรมของเรา ยิ่งเราจ่ายแพงมากเท่าไหร่ ธุรกรรมของเราก็จะได้รับการยืนยันเร็วขึ้นเท่านั้น
บล็อกเชน
Bitcoin ด้วยความที่เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแรกของโลก Bitcoin Bitcoin จึงเป็นเหมือนผู้คิดค้นระบบค่าธรรมเนียนในบล็อคเชนขึ้นมา มีหน้าที่ ป้องการกันโจมตี ไม่ให้ผู้ร้ายสามารถส่งธุรกรรมจำนวนมากเพื่อก่อกวน และยังเป็นรางวัลให้กับผู้ที่เข้าร่วมเครือข่าย หรือผู้ขุด Bitcoin อีกด้วย ได้กำหนดมาตรฐานและแบบอย่างสำหรับการเก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมของเครือข่ายบล็อกเชนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แนวคิดของค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมได้รับการแนะนำโดย Satoshi Nakamoto เพื่อป้องกันการโจมตีจากสแปมขนาดใหญ่ และเป็นกลไกในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับเครือข่าย
นักขุด Bitcoin จะได้รับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเมื่อพวกเขายืนยันการทำธุรกรรมให้กับบล็อกใหม่ๆ ในเครืืรอข่าย โดยทุกๆ 10 นาที จะมีการรวมธุรกรรมขึ้นมามัดรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อจัดเก็บครั้งหนึ่ง โดยในการจัดเก็บแต่ละครั้งจะมีปริมาณข้อมูลสูงสุดที่สามารถจัดเก็บได้ จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า mempool ขึ้นมาแน่นอนว่าธุรกรรมไหนยอมจ่าบค่าธรรมเนียมแพงก็จะได้ส่งเร็วกว่ากลุ่มธุรกรรมที่ไม่ได้รับการยืนยันจะถูกเรียกว่า Mempool ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนักที่นักขุด จะให้ความสำคัญกับธุรกรรมที่จ่ายค่าธรรมเนียมสูงกว่าก่อนธุรกรรมอื่น
ในการขัดความเครือข่าย ผู้ไม่หวังดีจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง ซึ่งหากพวกเขากำหนดค่าธรรมเนียมต่ำเกินไป นักขุดอาจมองข้ามธุรกรรมของพวกเขา แต่หากพวกเขาเลือกที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมที่สูง พวกเขาก็ต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมสามารถป้อมกันการสแปมได้เป็นอย่างดี
Bitcoin Transaction Fees ทำงานอย่างไร ?
อาจจะดูแปลกไปสักหน่อย แต่ค่าธรรมเนียม Bitcoin ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวน Bitcoin ที่ส่ง แต่ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกรรม (นับเป็น Bytes) ถ้าหากขนาดการทำธุรกรรมของคุณคือ 400 Bytes และค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเฉลี่ยคือ 80 Satoshis/bytes คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมประมาณ 400x80 = 32,000 satoshis (หรือ 0.00032 BTC) เพื่อให้ธุรกรรมของคุณ มีโอกาสถูกเพิ่มไปยังบล็อกถัดไปของเครือข่าย
ในช่วงเวลาที่มีจำนวนธุรกรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเฉลี่ยอาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวน
ดังนั้นค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นอาจทำให้การใช้ BTC สำหรับการทำธุรกรรมในชีวิตประจำวันเป็นไปไม่ได้ ลองนึกภาพดู การซื้อกาแฟสตาร์บั๊คราคา 200 บาท ดูจะไม่คุ้มเท่าไหร่ถ้าค่าธรรมเนียมแพงกว่าค่ากาแฟ
เนื่องจากบล็อกหนึ่งบล็อก สามารถรองรับการทำธุรกรรมได้จำกัด และผู้ขุดสามารถเพิ่มบล็อกเหล่านี้ไปยังบล็อกเชนได้ด้วยความเร็วที่กำหนดเท่านั้น ความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่าย (Scalability) จึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม บรรดา Blockchain Developer กำลังทำงานและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหานี้ ด้วยการอัพเกรดต่างๆ เช่น SegWit และ Lightning Network ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดได้อย่างมาก
Ethereum Transactions Fees
แตกต่างจาก Bitcoin ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบนเครือข่าย Ethereum จะพิจารณาปริมาณของ Computational Power (หรือ Gas) ที่จำเป็นในการประมวนผลธุรกรรม ก๊าซนี้มีราคาผันแปรในสกุลเงิน Ether (ETH) ซึ่งเป็นโทเค็นของเครือข่าย Ethereum
แม้ว่าแก๊สที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกรรมบางอย่างอาจจะคงที่ แต่ราคาของมันผันผวนได้ตลอด ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากความแออัดของเครือข่าย การจ่ายแก๊สในราคาที่สูงขึ้นจะทำให้ธุรกรรมของคุณถูกลัดคิวขึ้นไปทำการยืนยันก่อนธุรกรรมอื่น
ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ค่าแก๊สหมายถึงปริมาณพลังงานที่จำเป็น และราคาแก๊สคือค่าธรรมเนียมสำหรับแต่ละหน่วยของพลังงาน ความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้ และขีดจำกัดแก๊ส จะกำหนดค่าธรรมเนียมทั้งหมดสำหรับธุรกรรมบนเครือข่าย Ethereum
มาลองดูตัวอย่างธุรกรรมบนเครือข่าย Ethereum กัน ธุรกรรมนี้ต้องใช้แก๊ส 21,000 และราคาแก๊สคือ 71 Gwei ดังนั้น ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมคือ 21,000x71 = 1,491,000 หรือ 0.001491 ETH
และเนื่องจาก Ethereum เปลี่ยนไปใช้ระบบ Proof of Stake จึงมีการคาดการณ์ว่าค่าธรรมเนียมบนเครือข่ายจะถูกลง อย่างไรก็ตาม ความแออัดของเครือข่ายยังคงส่งผลต่อค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม เนื่องจาก Validator จะทำการตรวจสอบธุรกรรมที่จ่ายค่าธรรมเนียมสูงกว่า
ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญของ Blockchain และคริปโตเคอร์เรนซี โดยมันเป็นแรงจูงใจสำหรับผู้ใช้เครือข่าย และทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันพฤติกรรมที่อันตรายและสแปม
อย่างไรก็ตาม ความแออัดของเครือข่ายอาจทำให้ค่าธรรมเนียมสูงขึ้น ลักษณะการกระจายอำนาจของบล็อกเชนส่วนใหญ่ยังทำให้เรื่อง Scalability เป็นอะไรที่ท้าทาย ในขณะที่บางเครือข่ายมีความสามารถในการปรับขนาดและสามารถรองรับปริมาณธุรกรรมที่สูงขึ้นได้ แต่ก็แลกมากับความปลอดภัยหรือความเป็น Decentralized ที่ลดลง
คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้