ทำความรู้จักกับ Nested Exchange แพลตฟอร์มอันตรายที่ควรระวัง

ในบางครั้ง การเข้าสู่โลกของการลงทุนคริปโตก็ดูจะอันตรายเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราจะหากระดานเทรดที่เราจะเข้าไปทำการซื้อขาย การเลือกใช้ตัวเลือกที่ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องมีการทำ KYC (Know Your Customer) และ AML (Anti-Money Laundering) ที่ ใช้เวลานาน ก็อาจจะดูน่าดึงดูใจ
แต่อย่างไรก็ตาม การรีบร้อนที่จะเข้าไปลงทุนโดยที่ไม่ผ่านกระบวนการดังกล่าว อาจทำให้คุณไปเจอเข้ากับ Nested Exchange ซึ่งเป็นกระดานเทรดที่อันตราย และควรหลีกเลี่ยง วันนี้เราจะมาดูกันว่า Nested Exchange คืออะไร ทำไมถึงอันตราย และวิธีการหลีกเลี่ยงพวกมัน
Nested Exchange คืออะไร
ลองนึกภาพว่า Nested Exchange หรือ กระดานเทรดแบบซ้อน คือพ่อค้าคนกลางในโลกการเงิน เช่น ธนาคาร สร้างบัญชีกับสถาบันการเงินอื่นเพื่อนำมาให้บริการกับลูกค้า เหมือนกับธนาคารในประเทศที่ใช้บริการธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่กว่า เพื่อช่วยให้คุณสามารถโอนเงินของคุณไปให้เพื่อนที่สหรัฐอเมริกา
ซึ่งก็เหมือนกับบนโลกคริปโต พวก Nested Exchange ก็เหมือนกัน ซึ่งมันจะทำการเปิดบัญชีกับกระดานเทรดอื่น ๆ เช่น Binance และนำบัญชีเหล่านั้นมาให้บริการการซื้อขายแก่ลูกค้าของตัวเอง หรือจะเรียกว่าเป็นการเปิดบัญชีซ้อนก็ได้
วิธีการของ Nested Exchange มักจะดึงดูดนักต้มตุ๋นและมิจฉาชีพ เนื่องจากกระดานเทรดแบบนี้มักไม่ต้องการระบบ KYC หรือ AML
ความเสี่ยงและอันตรายจาก Nested Exchange
ในโลกการเงินแบบดั้งเดิม การใช้บัญชีซ้อนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านการฟอกเงิน เพราะธนาคารตัวแทน (ธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่กว่าธนาคารในประเทศตามตัวอย่างด้านบน) ไม่มีทางรู้ได้เลยว่า พวกเขากำลังให้บริการกับใครอยู่
ในโลกคริปโตที่ขาดกฎระเบียบที่ครอบคลุม ทำให้ Nested Exchange สามารถหลบเลี่ยงการควบคุมจากผู้รักษากฎหมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้การใช้บริการ Nested Exchange นั้นอันตรายอย่างมาก
เงินฝากของคุณบน Nested Exchange จะไม่มีความปลอดภัยเท่ากับกระดานเทรดปกติที่ได้รับการควบคุม และคุณอาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมายโดยไม่รู้ด้วย Nested Exchange ที่คุณใช้อยู่อาจถูกสั่งปิดหรืออาจถูกเจ้าของหอบเงินหนี ทำให้เงินของคุณสูญหายไป
นอกจากนี้หากคุณจงใจที่จะใช้ Nested Exchange ที่ผิดกฎหมายโดยเจตนา ผู้รักษากฎหมายอาจจะรวบคุณไปเข้าคุกได้เลย
Nested Exchange vs Decentralized Exchange
ที่นี้คุณอาจจะสงสัยว่า อ้าว แล้ว DEX หล่ะ ไม่ได้มีการ KYC ก่อนใช้งานเหมือนกัน แบบนี้มันจะต่างกับ Nested Exchage ตรงไหน ?
ใช่แล้ว มันไม่ต้อง KYC ก็ใช้งานได้เหมือนกัน แต่ DEX ใช้ระบบ Smart Contract ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายหรือเชื่อมกับสภาพคล่องโดยตรง พวกเขาไม่ได้นำสินทรัพย์ของคุณไปเก็บไว้ที่ตัวเองเหมือนกับ Nested Exchange ซักหน่อย คุณยังเป็นเจ้าของเหรียญของคุณอยู่เสมอเวลาใช้งาน
ตัวอย่าง Nested Exchange
ในปี 2021 กระดานเทรด Suex ในรัสเซียถูกสำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศ (OFAC) เข้าควบคุมและสั่งคว่ำบาตร เนื่องจาก Suex มีระบบ KYC เพียงเล็กน้อย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินของแฮกเกอร์ที่ใช้ Ransomware โจมตีผู้เสียหาย ด้วยเหตุนี้ Binance จึงสั่งปิดการใช้งานและขึ้นบัญชีดำผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกว่า 30 บัญชี
วิธีการสังเกต Nested Exchange เบื่องต้น
แพลตฟอร์มจะมีระบบ KYC หรือ AML น้อยหรือไม่มีเลย: ถ้าคุณสมัครและสามารถใช้งานได้ทันที ให้ระวังเอาไว้
มีกระบวนการซื้อขายที่ไม่ชัดเจน: ไม่สามารถระบุได้ว่าการซื้อขายคริปโตเกิดขึ้นที่ใด ทั้ง ๆ ที่โดยปกติแล้ว กระดานเทรดทั่วไปจะระบุชัดเจนว่าการซื้อขายเกิดขึ้นบนกระดานเทรดเอง
มีตัวเลือกของอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลาย: นั่นหมายความว่าการซื้อขายไม่ได้เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มโดยตรง แต่เกิดขึ้นที่อื่น ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีหลายแบบให้เลือกและจะไม่เท่ากัน
มีการโอนสินทรัพย์มาจากที่อื่น: ลองใช้ Block Explorer ดู ถ้าเกิดว่าคุณทำการถอนเงินแล้วสินทรัพย์ถูกส่งมาจากที่อื่น แสดงว่าอาจเข้าข่ายเป็น Nested Exchange
โลกของคริปโตในตอนนี้ดูจะเป็นเหมือนแดนเถื่อนแถวตะวันตกเมื่อเทียบกับโลกการเงินแบบดั้งเดิม ดังนั้นการรู้เอาไว้ว่าควรระวังอะไรดูจะเป็นการปลอดภัยมากกว่า ลองเลือกใช้กระดานเทรดที่มีกฎหมายควบคุม ที่ถึงแม้จะใช้เวลานานในการสมัครเล็กน้อย แต่ก็วิธีการที่มากขึ้นก็จะช่วยปกป้องคุณ เหมือนกับการตัดสินใจทางการเงินใด ๆ การคิดให้รอบคอบก่อนที่จะลงมือ ก็จะช่วยรักษาเงินของคุณเอาไว้ได้
อ้างอิงจาก : https://bit.ly/4c3WJaW
.
ติดตามข้อมูลสาระน่ารู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีได้ที่นี่ และดาวน์โหลด Binance TH by Gulf Binance ได้ที่ : https://bit.ly/try-BinanceTH
คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้