ทำความรู้จักเครือข่าย Layer-1 บนโลกบล็อกเชน
ทำความรู้จักเครือข่าย Layer-1 บนโลกบล็อกเชน
คุณเคยได้ยินคำศัพท์เช่น Layer-1 และ Layer-2 ในขณะที่สำรวจจักรวาลของเทคโนโลยีบล็อกเชนไหม ? หรือบางทีคุณอาจพบความเชื่อมโยงระหว่าง Ethereum และ Polygon หรือ Polkadot และ Parachains ของมัน เครือข่ายเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจของโลกบล็อกเชน และการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จะช่วยยกระดับความเข้าใจของคุณเกี่ยวกับ Layer-1 ได้อย่างแน่นอน
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Layer-1
Layer-1 เป็นเหมือนพื้นฐาน แก่นของเครือข่ายบล็อกเชน ซึ่งเปรียบเสมือนโครงสร้างหลักของอาคาร คริปโต เช่น Bitcoin (BTC) Ethereum (ETH) BNB Smart Chain (BNB) และ Solana ก็เป็นเครือข่ายแบบ Layer-1 เนื่องจากเป็นเครือข่ายหลักในระบบนิเวศ สิ่งที่ทำให้เครือข่ายเหล่านี้แตกต่างคือ ความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมภายในบล็อกเชนแต่ละรายการ โดยใช้ Native token เป็นต้นทุนในการทำธุรกรรม
ความท้าทายของการปรับขนาดบนเครือข่าย Layer-1
อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของเครือข่าย Layer-1 คือ Scaling ลองคิดดูว่ามันเหมือนกับการพยายามรวมมหาสมุทรเข้ากับสระว่ายน้ำ บล็อกเชนขนาดใหญ่อย่าง Bitcoin พบว่ามันท้าทายในการจัดการจำนวนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น เครือข่าย Bitcoin ใช้กลไกที่เรียกว่า Proof-of-Work (PoW) ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรมาก แม้ว่ากลไกนี้จะทำให้มั่นใจได้ถึงความเป็น Decentralized และการรักษาความปลอดภัย แต่ก็มีแนวโน้มที่เครือข่ายจะประมวลผลได้ช้าลงเมื่อปริมาณธุรกรรมสูง ซึ่งนำไปสู่ความล่าช้าและค่าธรรมเนียมที่แพงขึ้น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักพัฒนาได้ระดมความคิดเกี่ยวกับวิธีในการปรับขนาดสำหรับเครือข่าย Layer-1 รวมถึง :
ขยายขนาดบล็อกเพื่อให้สามารถประมวลผลธุรกรรมพร้อมกันได้มากขึ้น
การเปลี่ยนกลไกฉันทามติ คล้ายกับเครือข่าย Ethereum
การใช้เทคนิคที่เรียกว่าการ Sharding
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการปรับปรุงเหล่านี้มักต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และอาจไม่ได้รับเสียงความคิดเห็นในเชิงบวกจากผู้ใช้งานทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่ความไม่ลงรอยกันที่อาจเกิดขึ้น และอาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่รุนแรงอย่าง “Hardfork”
SegWit
SegWit (Segregated witness) ของเครือข่าย Bitcoin นำเสนอตัวอย่างที่แสดงให้เห็น Scaling Solution ของเครือข่าย Layer-1 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ Bitcoin ด้วยการจัดระเบียบวิธีเก็บข้อมูลบนบล็อกใหม่ ทำให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับการทำธุรกรรมโดยไม่ลดทอนคุณสมบัติด้านความปลอดภัย แม้ว่าโหนด Bitcoin บางโหนดจะไม่ได้อัปเดตเพื่อรองรับ SegWit แต่พวกเขายังสามารถประมวลผลธุรกรรมได้ ต้องขอบคุณ Backward Compatibility Solution
Layer-1 Sharding คืออะไร?
ให้คิดว่าการ Sharding เป็นเหมือนการหั่นพิซซ่า โดยแต่ละส่วนจะแสดงถึงกิจกรรมของเครือข่ายทั้งหมด รวมถึงธุรกรรม โหนด และบล็อกแต่ละบล็อกแยกกันต่างหาก เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการปรับปรุงความเร็วของการทำธุรกรรม เมื่อใช้ Sharding แต่ละโหนดของเครือข่ายไม่จำเป็นต้องเก็บสำเนาข้อมูลทั้งหมดของบล็อกเชน แต่จะรายงานงานที่เสร็จสิ้นแล้วกลับไปยังเชนหลักแทน
Layer-1 vs Layer-2
เมื่อพูดถึงการปรับปรุงและพัฒนา บางอย่างไม่สามารถแก้ไขได้ที่เครือข่าย Layer-1 เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีบางประการ ตัวอย่างเช่น การอัพเกรด Ethereum เป็น Proof of Stake (PoS) นั้นใช้เวลาหลายปีในการพัฒนา แอปพลิเคชันบางอย่างอาจเข้ากันไม่ได้กับ Layer-1 เนื่องจากปัญหาด้านความสามารถในการปรับขนาดเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เครือข่ายยังคงต้องการใช้ประโยชน์จากความปลอดภัยและความเป็น Decentralized ของเครือข่าย Layer-1 อยู่ ในกรณีเช่นนี้ Layer-2 ที่สร้างขึ้นบนเครือข่าย Layer-1 ดูจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
Lightning Network
Lightning Network ซึ่งเป็น Layer-2 Solution ที่โดดเด่นของเครือข่าย Bitcoin มันอำนวยความสะดวกในการชำระเงินผ่าน Bitcoin ได้อย่างรวดเร็วจากเชนหลักเมื่อเครือข่าย Bitcoin แออัด และยอดคงเหลือสุดท้ายจะถูกรายงานไปยังเชนหลักในภายหลัง วิธีนี้จะดำเนินการด้วยการ รวมกลุ่มธุรกรรมของทุกคนเป็นชิ้นเดียว ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากร
ตัวอย่างของเครือข่าย Layer-1
Elrond: ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 Elrond ใช้ประโยชน์จาก Sharding เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการปรับขนาด โดยสามารถประมวลผลธุรกรรมได้มากกว่า 100,000 รายการต่อวินาที โดยมีจุดเด่นที่ระบบ Secure Proof of Stake (SPoS), Adaptive State Sharding
Harmony: เครือข่าย Layer-1 ที่ใช้กลไกแบบ Effective Proof of Stake (EPoS) พร้อมกับระบบ Sharding Harmony ใช้กลยุทธ์ "Cross-Chain Finance" เพื่อดึงดูดนักพัฒนาและผู้ใช้ โดยสัญญาว่าจะเป็นสะพานเชื่อมที่ปลอดภัยไปยังเครือข่าย Ethereum และ Bitcoin
Celo: แยกจาก Go Ethereum (Geth) ในปี 2560 Celo ได้นำกลไก Proof of Stake และระบบที่อยู่เฉพาะมาใช้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้คริปโตสามาถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นและส่งเสริมการยอมรับด้วยคุณสมบัติต่างๆ เช่น การใช้หมายเลขโทรศัพท์หรือที่อยู่อีเมลเป็น Public Key
THORChain: Decentralized Exchange (DEX) ที่บนเครือข่าย Cosmos SDK ทำให้ THORChain ช่วยให้มีสภาพคล่องข้ามเชนโดยไม่จำเป็นต้อง “Peg” หรือ “Warp” สินทรัพย์
Kava: เครือข่ายที่รวมความเร็วของเครือข่าย Cosmos เข้ากับการสนับสนุนจากนักพัฒนาของ Ethereum ทำให้ Kava มีเครือข่ายบล็อกสำหรับทั้ง Ethereum Virtual Machine (EVM) และ Cosmos SDK มอบความสามารถในการปรับขนาดที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักพัฒนา
IoTeX: มุ่งเน้นไปที่การรวมบล็อกเชนเข้ากับ Internet of Things โดย IoTeX ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลที่อุปกรณ์ของพวกเขาสร้างขึ้น และได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ที่เป็นนวัตกรรม เช่น Ucam และ Pebble Tracker
บล็อกเชนสมัยใหม่เต็มไปด้วยเครือข่ายแบบ Layer-1 และ Layer-2 แม้ว่าในตอนแรกอาจดูซับซ้อน แต่เมื่อลองศึกษาข้อมูลเชิงลึกเข้าไป โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและการเชื่อมต่อระหว่างกันของเครือข่ายก็จะชัดเจนมากขึ้น ความเข้าใจนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการค้นหาเครือข่ายบล็อกเชนใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นเลิศในด้าน Network Interoperability และ Cross-Chain Solutions
อ้างอิงจาก : https://bit.ly/3YhDOWL
.
ติดตามข้อมูลสาระน่ารู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีได้ที่นี่ และดาวน์โหลด Binance TH by Gulf Binance ได้ที่ : https://bit.ly/try-BinanceTH
คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้