อธิบายการจัดสรรสินทรัพย์และการกระจายความเสี่ยง (Asset Allocation and Diversification Explained)
อธิบายการจัดสรรสินทรัพย์และการกระจายความเสี่ยง (Asset Allocation and Diversification Explained)
เรื่องเงินๆ ทองๆ มักจะมาคู่กับความเสี่ยงเสมอ หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “อย่าเอาไข่ทั้งหมดใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” ก็เพราะถ้าเราพลาดทำตระกร้าตกขึ้นมา เราจะไม่เหลือไข่ไว้เลย
ในการลงทุน จะเกิดกำไรและขาดทุนเสมอ หากเราเคยได้ยินว่าการถือเงินสด มีความเสี่ยงน้อยที่สุด แต่ความจริงแล้ว เงินสดนั้นก็จะถูกกัดกินโดย “เงินเฟ้อ”
ในเมื่อความเสี่ยงนี้ไม่สามารถกำจัดไปได้ เราจะสามารถปรับอะไรได้บ้างเพื่อให้เราสามารถไปยังเป้าหมายทางการลงทุนได้บ้าง
การกระจายสินทรัพย์และการจัดสรรความเสี่ยง คือแนวทางจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ โดยหลักการเหล่านี้มีมานานนับพันปีแล้ว แม้ว่าเราจะยังใหม่ต่อการลงทุน เราก็อาจจะได้ยินหลักการนี้มาบ้าง
บทความนี้จะให้ภาพรวมว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไรและเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การจัดการเงินสมัยใหม่อย่างไร
การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) และกลยุทธ์การกระจายการลงทุน (Asset Diversification) คืออะไร
การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) และ กลยุทธ์การกระจายการลงทุน (Asset Diversification) มักจะเป็นคำที่ใช้สลับกันไปมา อย่างไรก็ตามสองคำนี้กลับมีแง่มุมที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) มักจะใช้เพื่อบอกหรือกำหนดแนวทางการแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนระหว่าง ประเภทสินทรัพย์ (Asset Class) ต่างๆ ในพอร์ตการลงทุน
กลยุทธ์การกระจายการลงทุน (Asset Diversification) จะเป็นตัวบอกหรือกำหนด ปริมาณของทุนใน ประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class) นั้นๆ
วัตถุประสงค์ของกลยุทธ์ทั้งสองนี้ ก็มีไว้เพื่อเพิ่มผลตอบแทนที่คาดหวังให้สูงสุดในขณะที่ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยปกติแล้ว การจะสร้างกลยุทธ์เหล่านี้ได้ จะเกิดจากการทำแบบทดสอบในหัวข้อต่างๆ เช่น ขอบเขตเวลาการลงทุนของนักลงทุน (ระยะเวลาที่จะลงทุน) การรับความเสี่ยง และบางครั้งการพิจารณาถึงสภาวะเศรษฐกิจอื่นๆ
สรุปง่ายๆ ก็คือ การนำทุกอย่างที่เป็นเงื่อนไขของเรามาผสมเข้าด้วยกัน แล้วออกมาเป็นแนวทางที่เหมาะกับตัวเรานั่นเอง การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่ขึ้นลงแบบไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะทำให้พอร์ตของเรามีความสมดุลได้
การนำสองกลยุทธ์นี้มาผสมกัน จะทำให้ความเสี่ยงไม่ตกไปอยู่เฉพาะ ประเภทสินทรัพย์เท่านั้น แต่ยังกระจายความเสี่ยงไปถึง ตัวสินทรัพย์ที่เราจัดสรรไว้ในประเภทนั้นๆ อีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินบางคนเชื่อว่า การกำหนดกลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์ อาจมีความสำคัญมากกว่าการเลือกการลงทุนเลยเชียวล่ะ
Modern Portfolio Theory
Modern Portfolio Theory (MPT) เป็นแนวทางในการนำกลยุทธ์ที่เราพูดถึงมาทำให้อยู่ในรูปของสมการ บทความได้รับการตีพิมพ์ในปี 1952 ซึ่งทำให้ผู้คิดค้น Harry Markowitz ซึ่งต่อมาเขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในเวลาต่อมา
ประเภทสินทรัพย์ขนาดใหญ่ มักจะมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวต่างกัน สภาพตลาดที่เหมาะกับสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะกับอีกประเภทก็เป็นได้ สมมติฐานคือ หากสินทรัพย์ประเภทหนึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่า การขาดทุนจากสินทรัพย์นั้น สามารถชดเชยได้ด้วยอีกสินทรัพย์ที่ทำกำไรได้ดีกว่า
MPT ใช้วิธีการนำประเภทสินทรัพย์ที่เคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กันมารวมกันไว้ จะทำให้ความผันผวนของพอร์ตการลงทุนลดลงได้ ซึ่งเป็นผลให้เราสามารถเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้น โดยที่ยังคงความเสี่ยงโดยรวมเท่าเดิมได้ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็จะทำให้การลงทุนมีผลกำไรที่มากกว่าเดิม นักลงทุนไหนก็ตามที่มาเห็นการลงทุนที่เสี่ยงเท่าเดิม แต่ได้ผลตอบแทนมากขึ้น ก็ต้องหันมาใช้วิธีนี้
สรุปสั้นๆ MPT ระบุไว้ว่าวิธีนี้ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรวมสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสินทรัพย์ประเภทนั้นๆ จะเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน
ประเภทของสินทรัพย์และกลยุทธ์การจัดสรร
โดยทั่วไปแล้วประเภทของสินทรัพย์จะแบ่งออกได้เป็นสองประเภท
สินทรัพย์พื้นฐาน (Traditional asset) เช่น หุ้น พันธบัตร และเงินสด
สินทรัพย์ทางเลือก (Alternative asset) เช่น อสังหาริมทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ อนุพันธ์ ผลิตภัณฑ์ประกันภัย หุ้นนอกตลาด (private equity) และแน่นอน สินทรัพย์ดิจิทัล
โดยทั่วไป กลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ ซึ่งทั้งสองแบบใช้สมมติฐานที่ระบุไว้ใน MPT ก็คือ เป็นการจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Asset Allocation) และการจัดสรรสินทรัพย์ทางยุทธวิธี (Tactical Asset Allocation)
การจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Asset Allocation) คือการลงทุนแบบดั้งเดิมที่เหมาะกับการลงทุนแบบ Passive Investment มากกว่า พอร์ตการลงทุนนี้จะปรับการลงทุน เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องปรับความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ถือในระยะยาว
การจัดสรรสินทรัพย์ทางยุทธวิธี (Tactical Asset Allocation) เหมาะสมกว่าสำหรับรูปแบบการลงทุนเป็น Active Investment ช่วยให้นักลงทุน มุ่งโฟกัสไปยังสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนมากกว่าตลาด โดยอยู่บนสมมติฐานว่า หากสินทรัพย์ใดมีผลประกอบการดีกว่าตลาด สินทรัพย์นั้นอาจทำผลงานได้ดีกว่าต่อไปอีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เป็นที่น่าสังเกตว่าสำหรับการกระจายความเสี่ยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด สินทรัพย์นั้นๆ ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันโดยสิ้นเชิง หรือผกผันกันสักทีเดียว
การใช้การจัดสรรสินทรัพย์และการกระจายการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอ (Applying asset allocation and diversification to a portfolio)
ลองพิจารณาหลักการเหล่านี้ผ่านตัวอย่าง การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ว่าควรมีการจัดสรรต่อไปนี้ระหว่างประเภทสินทรัพย์ต่างๆ:
40% หุ้น
30% พันธบัตร
20% สินทรัพย์ดิจิทัล
10% เงินสด
กลยุทธ์การกระจายการลงทุน (Asset Diversification) อาจกำหนดว่าในบรรดา 20% ที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เราจะลงทุนแบบนี้:
70% Bitcoin
15% เหรียญขนาดใหญ่
10% เหรียญขนาดกลาง
5% เหรียญขนาดเล็ก
เมื่อกำหนดการจัดสรรแล้ว อาจมีการติดตามและทบทวนประสิทธิภาพของพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ หากอัตราส่วนเปลี่ยนไป อาจถึงเวลาที่ต้องปรับอัตราส่วนใหม่ ซึ่งหมายถึงการซื้อและขายสินทรัพย์เพื่อปรับพอร์ตให้กลับเป็นสัดส่วนที่ต้องการ แน่นอนว่าการเลือกสินทรัพย์นั้นขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคน
สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นหนึ่งในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด พอร์ตนี้อาจถือว่ามีความเสี่ยงมาก เนื่องจากมีการจัดสรรส่วนใหญ่ให้กับสินทรัพย์ดิจิทัล นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงอาจต้องการจัดสรรพอร์ตการลงทุนมากอื่นๆมากขึ้น เช่น พันธบัตร ซึ่งเป็นประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่ามาก
การกระจายความเสี่ยงภายในพอร์ต ของสินทรัพย์ดิจิทัล
ในขณะที่หลักการเบื้องหลังวิธีการเหล่านี้ควรนำไปใช้กับพอร์ตโฟลิโอสินทรัพย์ดิจิทัลในทางทฤษฎี แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลักการนี้ก็ยังยากที่จะนำมาใช้กับสินทรัพย์ดิจิทัล เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น มีความเคลื่อนไหวสัมพันธ์อย่างมากกับการเคลื่อนไหวของราคา Bitcoin
แล้วเราจะสร้างตะกร้าสินทรัพย์ที่ไม่สัมพันธ์กัน จากตะกร้าสินทรัพย์ที่ทุกอย่างวิ่งตาม Bitcoin ได้อย่างไร?
ในบางครั้ง เหรียญรอง (Altcoin) บางตัวอาจมีความสัมพันธ์ลดลงจาก Bitcoin และนักลงทุนที่เอาใจใส่ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้มักจะไม่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและคาดการค่อนข้างยาก ไม่เหมือนกับกลยุทธ์ที่ที่ใช้กันในตลาดทุนเดิม
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเมื่อตลาดเติบโตเต็มที่ การวางแผนลงทุนอย่างเป็นระบบมากและการกระจายความเสี่ยงอาจเป็นไปได้ภายในพอร์ตสินทรัพย์ดิจิทัลมากกว่านี้
ปัญหาเกี่ยวกับการจัดสรรสินทรัพย์
แม้ว่า วิธีการจัดสรรสินทรัพย์(asset allocation) จะเป็นเทคนิคที่ทรงพลังอย่างมาก แต่กลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์บางอย่างอาจไม่เหมาะกับนักลงทุนบางคนและพอร์ตการลงทุนบางประเภท
การวางแผนการลงทุนนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายดายและตรงไปตรงมา แต่กุญแจสำคัญในกลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์ที่ดีคือการนำไปปฏิบัติ หากไม่สามารถลดความรู้สึกและอคติออกไปได้ ประสิทธิภาพของการวางแผนการลงทุนก็คงไม่เกิดขึ้น
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกประการหนึ่งมาจากความยากลำบากในการประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของนักลงทุน เมื่อผลลัพธ์เริ่มออกมาหลังจากลงทุนไปแล้วช่วงเวลาหนึ่ง นักลงทุนอาจตระหนักว่าพวกเขาต้องการความเสี่ยงน้อยลง (หรือมากกว่านั้น)
สุดท้าย
การจัดสรรและกระจายสินทรัพย์เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงที่มีมานับพันปี นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในแนวคิดหลักที่อยู่เบื้องหลังกลยุทธ์การจัดการพอร์ตสมัยใหม่
จุดประสงค์หลักของการวางแผนกลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์คือการเพิ่มผลตอบแทนที่คาดหวังให้ได้สูงสุดในขณะที่ลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด การกระจายความเสี่ยงระหว่างประเภทสินทรัพย์อาจเพิ่มประสิทธิภาพของพอร์ตการลงทุนได้
ในตลาดสินทรัพดิจิทัล ตลาดมีความสัมพันธ์อย่างมากกับ Bitcoin การนำกลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์มาใช้กับพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลควรกระทำด้วยความระมัดระวัง