BRC-20 คืออะไร ทำไมหลายคนถึงให้ความสนใจ?
BRC-20 คืออะไร ทำไมหลายคนถึงให้ความสนใจ?
สรุปสั้นๆ
BRC-20 เป็นมาตรฐาน token ที่ยังอยู่ระหว่างการทดลองสำหรับ fungible token ออกแบบมาสำหรับบล็อกเชนของ Bitcoin โดยเฉพาะ
แม้จะมีการทดลองในระดับสูง แต่มาตรฐานใหม่ๆ ของ BRC-20 ก็ช่วยให้สามารถสร้าง altcoin และทำ tokenized สินทรัพย์บนเครือข่าย Bitcoin ได้
มาตรฐาน BRC-20 token เป็นหนึ่งในนวัตกรรมใหม่ล่าสุดใน Bitcoin ecosystem ช่วยเปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ และท้าทายการรับรู้แบบเดิมๆ ว่า Bitcoin ทำอะไรได้บ้าง ดังนั้นในบทความนี้ เราจะมาศึกษาข้อมูล BRC-20 token ไปด้วยกัน ทั้งข้อดีข้อเสีย รวมถึงผลกระทบต่อบล็อกเชนในวงกว้าง
อะไรคือมาตรฐาน BRC-20 Token?
BRC-20 เป็นมาตรฐาน token ที่อยู่ในระหว่างทดลองสำหรับ fungible token โดยออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับบล็อกเชนของ Bitcoin
สำหรับคนที่อาจเพิ่งเข้ามาในโลกคริปโต และอาจจะไม่คุ้นกับคำว่า fungible token (token ที่ใช้แทนกันได้) จริงๆ แล้วมันก็คือเหรียญต่างๆ ที่ทุกเหรียญ (token) มีฟังก์ชันการทำงานเหมือนกันและมูลค่าเท่ากัน อย่าง Bitcoin ก็นับเป็น fungible token เช่นกัน
ดังนั้น พอ BRC-20 เกิดขึ้นมา ก็เปิดทางสู่แนวคิดของ tokenization (การทำสินทรัพย์ให้เป็น token) ในเครือข่าย Bitcoin เพิ่มความสามารถให้เหนือกว่าการเป็นเพียงสกุลเงินดิจิทัลแบบ decentralized หรือเราอาจมองว่า BRC-20 เป็นมาตรฐานสำหรับสร้าง altcoin บนบล็อกเชนของ Bitcoin ก็ได้
Taproot และ Ordinals
การอัปเกรด Taproot ช่วยเพิ่มความจุข้อมูลบล็อกของ Bitcoin ทำให้เป็นส่วนสำคัญในการใช้งานโปรโตคอล Ordinals และเป็นรากฐานสำหรับ BRC-20 token
การเปิดตัวโปรโตคอล Ordinals ที่ดำเนินการโดย Casey Rodarmor วิศวกรซอฟต์แวร์ ในเดือนมกราคม 2023 ทำให้สามารถ inscribe ข้อมูลลงบน satoshi (หน่วยที่เล็กที่สุดของ Bitcoin) แต่ละตัวได้โดยใช้ Ordinal Theory
ขณะเดียวกัน ระบบกำหนดหมายเลขและการ inscribe ของโปรโตคอล Ordinals ช่วยให้การสร้างทั้ง fungible และ non-fungible tokens (NFT) บนเครือข่าย Bitcoin
แล้ว BRC-20 Token ทำงานยังไง
BRC-20 token ถูกสร้างขึ้นในเดือนมีนาคม 2023 โดยนักวิเคราะห์บล็อกเชนที่ใช้นามแฝงว่า Domo โดยใช้กลไก ordinals inscription สำหรับการสร้างและโอนย้าย fungible token บนบล็อกเชนของ Bitcoin
โดยสิ่งที่ทำให้ BRC-20 แตกต่างจาก ERC-20 บน Ethereum ก็คือ BRC-20 ไม่รองรับ smart contract และพึ่ง ordinal inscription ในการทำงาน นอกจากนี้ ERC-20 ยังสร้างผ่าน smart contract แต่ BRC-20 สร้างด้วยการ inscribe ไฟล์ JSON เข้าไปที่ satoshi แต่ละตัว
แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงทดลอง แต่ความเรียบง่ายของมาตรฐาน BRC-20 ที่ไม่จำเป็นต้องมี smart contract ที่ซับซ้อน ทำให้สามารถ tokenization สินทรัพย์บนเครือข่าย Bitcoin ได้ง่ายขึ้น
ข้อดีและข้อเสียของ BRC-20
ข้อดี
1. ความเรียบง่าย
BRC-20 ใช้กลไก tokenization ที่เรียบง่าย ทำให้ไม่จำเป็นต้องมี smart contract ที่ซับซ้อน ความเรียบง่ายนี้ช่วยให้สามารถ mint และโอน token ได้สะดวก ทำให้เข้าถึงฐานผู้ใช้ในวงกว้างขึ้น
2. ความปลอดภัยทางเครือข่าย
BRC-20 ใช้ประโยชน์จาก feature ด้านความปลอดภัยของบล็อกเชนของ Bitcoin โดยได้ความสามารถในการ decentralized, เทคโนโลยีอัลกอริทึม และกลไก proof-of-work ทำให้มั่นใจได้ว่าเครือข่ายมีความปลอดภัยในระดับสูง
3. มีศักยภาพในการเติบโต
แม้จะอยู่ในช่วงการทดลอง แต่ก็มี project จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ หันมาใช้มาตรฐาน BRC-20 นอกจากนี้ ฐานผู้ใช้งานเครือข่าย Bitcoin ที่หลากหลายและครอบคลุมเป็นตัวดึงดูด developer, นักลงทุน และผู้ใช้งาน ช่วยส่งเสริมการพัฒนาและนวัตกรรมเพิ่มเติม
ข้อเสีย
1. ไม่มีฟังก์ชัน smart contract
BRC-20 ต่างกับ ERC-20 ตรงที่ขาดการรองรับ smart contract ซึ่งเป็นข้อจำกัดและทำให้ขาดประสิทธิภาพ
2. การพึ่งพาบล็อกเชนของ Bitcoin
BRC-20 นั้นต้องพึ่งพาบล็อกเชนของ Bitcoin ทำให้มีข้อจำกัดเดียวกับเครือข่าย เช่น มีความสามารถในการ scale ต่ำ, ทำธุรกรรมช้า และค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมสูง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการโอนของ BRC-20
3. ความสามารถในการทำงานร่วมกันอย่างจำกัด
เนื่องจาก BRC-20 ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับ Bitcoin ecosystem ทำให้มีปัญหาด้านการทำงานร่วมกับระบบบล็อกเชนและกระเป๋าคริปโตอื่นๆ
4. มีการใช้งานอย่างจำกัด
BRC-20 ถูกออกแบบมาสำหรับ tokenization สินทรัพย์ชนิด fungible asset จึงไม่เหมาะกับสินทรัพย์ประเภท non-fungible asset หรือใช้กับ token ที่มี feature ซับซ้อน
5. ความแออัดของเครือข่าย
BRC-20 และ Bitcoin NFT มักจะทำให้เกิดความแออัดของเครือข่าย ทำให้เวลาในการยืนยันข้อมูลช้าลง และมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมสูงขึ้น
โอกาสและอุปสรรคของ BRC-20
แม้มาตรฐาน BRC-20 จะยังอยู่ในช่วงทดลอง แต่ก็ได้รับการยอมรับและมีการนำไปใช้มากขึ้น บ่งบอกถึงศักยภาพในการเติบโตในระยะกลางและระยะยาว project ที่นำ BRC-20 ไปใช้งานจะชื่นชมศักยภาพในการพลิกโฉมบล็อกเชนของ Bitcoin ด้วย use case ใหม่ๆ และผลิตภัณฑ์ที่ล้ำหน้า
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคต่างๆ เช่น ความแออัดของเครือข่าย, ความสามารถในการ scale และการที่ไม่มี smart contract อาจเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการนำ BRC-20 ไปใช้ในวงกว้าง เพื่อเอาชนะอุปสรรคนี้ developer จึงมองหาการใช้ Bitcoin Layer 2 และ solution การ scale อื่นๆ อยู่
บทส่งท้าย
BRC-20 เป็นตัวแทนการพยายามขายฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ ที่น่าสนใจของบล็อกเชนของ Bitcoin โดยมีโปรโตคอล Ordinals กับการอัปเกรด Taproot ช่วยปูทางให้กับ fungible token บน Bitcoin และแม้ว่า BRC-20 จะให้ความเรียบง่าย, ความเข้ากันได้ และความปลอดภัย แต่ข้อจำกัดเหล่านี้ก็เน้นให้เห็นว่า มาตรฐาน BRC-20 นี้ยังคงอยู่ในขั้นทดลอง
.ติดตามข้อมูลสาระน่ารู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีได้ที่นี่ และดาวน์โหลด Binance TH by Gulf Binance ได้ที่ https://bit.ly/try-BinanceTH
คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Reference: https://academy.binance.com/en/articles/what-are-brc-20-tokens