มาทำความรู้จัก Modular Blockchain เทคโนโลยีแบบใหม่ล่าสุดที่ทำให้เชน Ethereum ถูกลง 100 เท่า
มาทำความรู้จัก Modular Blockchain เทคโนโลยีแบบใหม่ล่าสุดที่ทำให้เชน Ethereum ถูกลง 100 เท่า
สรุปสั้นๆ
Modular blockchain เป็นการแยกการทำงานออกเป็นหลายส่วนเพื่อเพิ่มความสามารถในการ scale, secure และ customize ของเครือข่าย
ฟังก์ชันเฉพาะของ Modular blockchain เช่น execution, settlement, consensus และ data availability ทำให้ได้ผลลัพธ์มากกว่าเดิมแต่ยังได้ความ decentralized และ security
Celestia, Dymension และ project อื่นๆ กำลังใช้ Modular blockchain เพื่อแก้ปัญหา blockchain trilemma
บล็อกเชนมีการพัฒนาอย่างมากนับตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมา โดย developer มากมายยังคงหาทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้าน scalability, security และ decentralization เนื่องจากวิธีเดิมๆ ที่ต้องใช้เชนเดียวทำหน้าที่ทุกอย่างมักจะเจออุปสรรคในด้าน scalability, upgradability และข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์สำหรับการเป็น validator node เพื่อแก้ปัญหานึ้จึงเกิดแนวคิด Modular blockchain ขึ้นมา
แล้ว Modular Blockchains มันคืออะไร?
Modular blockchain จะต่างจาก Monolithic blockchain แบบเดิม โดยเลือกใช้สถาปัตยกรรมแบบ multi-layer ที่แบ่งงานหลักต่างๆ ออกเป็นฟังก์ชันเฉพาะ ซึ่งการกำหนดฟังก์ชันเฉพาะให้แต่ละ layer นี้มีเพื่อให้ Modular blockchain สามารถสร้างระบบที่ scalable และ customizable ได้มากกว่าเดิมโดยไม่เสียความสามารถด้าน decentralization หรือ security การออกแบบแบบแยกส่วน (modular) นี้เป็นโซลูชันที่ดีในการแก้ปัญหา blockchain scalability trilemma
ลองนึกถึงตัวต่อเลโก้ ที่เราสามารถใช้ชิ้นส่วนที่แตกต่างกันมาสร้างอะไรมากมายได้ตามแต่เราจะจินตนาการ ตัวต่อแต่ละตัวสามารถปรับเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้ ตามที่เราต้องการ ทำให้สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาจะมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร เช่น แม้คนสองคนจะใช้ตัวต่อไปสร้างรถของเล่นเหมือนกัน แต่แน่นอนหน้าตาและความเร็วจะไม่เหมือนกันแน่นอน ก็เหมือนกับ Modular blockchain ที่อาจจะมีเป้าหมายการใช้งานเหมือนกัน แต่ส่วนประกอบต่างๆ (Modular blockchain แต่ละตัว) นั้นต่างกัน ทำให้ประสิทธิภาพต่างกันไปด้วย
Modular blockchain มักจะแบ่งออกตามประเภทการทำงาน 4 แบบ ได้แก่ execution ซึ่งเกี่ยวกับการประมวลผลการทำธุรกรรม, settlement เกี่ยวกับการกำหนดปลายทางธุรกรรม, consensus ที่คอยตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม และ data availability ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลการทำธุรกรรม
ในปัจจุบัน เราสามารถเอา Modular blockchain ไปใช้งานได้หลายวิธี เช่น
Rollups: ทำหน้าที่เป็น execution layer ทำการประมวลผลธุรกรรมบน layer-2 (L2) และ publish ข้อมูลกลับไปยังเครือข่าย layer-1 (L1)
Validium: เป็น rollup รูปแบบหนึ่งที่ทำธุรกรรม off-chain ก่อนจะส่งข้อมูลไปยัง L1 นอกจากนี้ ยังพึ่งพาเครือข่าย Proof of Stake validator ด้วย
Sovereign: เป็น rollup ที่แตกต่างจากตัวอื่นด้วยการทำหน้าที่เป็นทั้ง execution และ settlement โดยจะ publish บล็อกข้อมูลไปยัง rollup โดยตรง Sovereign rollups นี้ไม่ต้องมี L1 smart contract เพื่อ validation
ก็ฟังดูดีนี่ แล้วทำไมถึงยังไม่แพร่หลายล่ะ?
จะเห็นได้ว่า สิ่งที่สถาปัตยกรรม Modular blockchain มีเหนือกว่าแบบ monolithic ก็คือ เพิ่มความสามารถในการ scalable, flexible และ interoperable หรืออาจสรุปข้อดีได้ประมาณนี้
1. เพิ่มความสามารถในการ scale
Modular blockchain นั้นเด่นในด้าน scalability เพราะโยนภาระการทำงานที่ใช้ทรัพยากรมากไปให้กับ layer อื่น ทำให้ได้ผลลัพธ์รวมที่เหนือกว่าโดยไม่เสียความสามารถในการ decentralized
2. ความยืดหยุ่นและความสามารถในการทำงานร่วมกัน
Layer ที่สร้างจาก Modular ถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นสูง เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่าง layer-1 และ layer-2 ต่างๆ ทำให้ developer สามารถใช้งาน Ethereum Virtual Machine (EVM) หรือ virtual machine อื่นๆ ได้ตามต้องการ
3. สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันได้หลากหลาย
Modular blockchain รองรับการพัฒนาแอปพลิเคชันมากมาย ลดอุปสรรคของ user ใน blockchain ecosystem ความอเนกประสงค์นี้ช่วยในการสร้าง decentralized application (DApp) ที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้หลากหลายยิ่งขึ้น
4. Tech Stack ที่ปรับแต่งเองได้
Developer มีอิสระที่จะเลือกว่า virtual machine ตัวไหนเหมาะกับความต้องการที่สุด ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปรับได้และเป็นมิตรกับ developer มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การสร้าง Modular blockchain ก็มีความซับซ้อนกว่า และเป็นเรื่องยากสำหรับ user และ developer หน้าใหม่ในการเรียนรู้ รวมถึงการที่ยังใหม่อยู่ทำให้มีอุปสรรคอื่นๆ อีก เช่น
1. ความซับซ้อนในการพัฒนา
การสร้าง Modular blockchain นั้นยากกว่าแบบ monolithic โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่ ทำให้การนำไปใช้งานและการพัฒนาล่าช้า
2. มีการทดสอบอย่างจำกัด
เครือข่ายแบบ Modular ไม่มีการทดสอบมากและครอบคลุมเท่ากับแบบ monolithic อย่าง Ethereum หรือ Bitcoin ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความยืดหยุ่นเมื่อใช้งานจริง
3. ยังอยู่ในช่วงแรกของการพัฒนา
การพัฒนา Modular blockchain ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น แม้ตลาดจะแสดงความสนใจในเทคโนโลยีนี้ แต่ยังการขาดการทดสอบและ validation ในการใช้งานจริงอย่างครอบคลุม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ ทำให้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความเสถียรและประสิทธิภาพในระยะยาว
แล้วตัวอย่างเครือข่าย Modular Blockchain ตอนนี้มีอะไรบ้าง?
Celestia
Celestia เป็นเครือข่าย Modular ที่ให้บล็อกเชนสามารถ scale ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่เสียประสิทธิภาพ การทำ rollups และเครือข่าย layer-2 ต่างๆ สามารถใช้ Celestia เพื่อทำให้ทุกคนสามารถใช้งานข้อมูลได้ ขณะเดียวกันก็ได้รับประโยชน์จาก data availability ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ Celestia ใช้ feature มากมาย เช่น การสุ่มตัวอย่าง data availability และ sovereign rollups ซึ่งการสุ่มตัวอย่าง Data availability นี้เองที่ทำให้ Celestia เพิ่มขนาดบล็อกของตัวเองเมื่อมี node เข้าร่วมกับเครือข่ายมากขึ้น
Dymension
Dymension เป็นเครือข่ายของ Modular blockchain ที่ติดตั้งง่ายและเร็วที่ชื่อ RollApp ซึ่งเครือข่าย RollApp ทำหน้าที่เป็น front-end (ติดต่อกับ user) ขณะที่ Dymension ทำหน้าที่เป็น back-end ที่คอยประสานงานกับ ecosystem นอกจากนี้ ยังเป็นเครือข่าย data availability ที่ทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็น
.
.
ความอเนกประสงค์และความสามารถในการทำงานร่วมกันของ Modular blockchain อาจปูทางไปสู่ decentralized ecosystem ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น เครือข่าย Modular สามารถค่อยๆ สนับสนุน DApp และมี use case ที่กว้างขวางขึ้น และส่งเสริม DeFi ไปให้ไกลกว่าเดิม นอกจากนี้ การใช้งาน Modular ในโลกคริปโตก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเพราะหลายฝ่ายกำลังมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหา scalability trilemma อยู่นั่นเอง
.
คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Reference: https://academy.binance.com/en/articles/what-are-modular-blockchains