Governance Token คืออะไร ทำไมมือใหม่จึงควรรู้

2024-07-18

Governance Token คืออะไร ทำไมมือใหม่จึงควรรู้

โดยปกติแล้ว อำนาจในการกำกับดูแลของบริษัทบนโลก Web2 มักจะกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนเพียงไม่กี่คน เช่น คณะกรรมการของบริษัท โดยกลุ่มคนเล็ก ๆ เหล่านี้มีอำนาจมหาศาลในการกำหนดทิศทาง ตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กร แต่ถ้าหากว่ามีแนวทางที่เป็นประชาธิปไตยและโปร่งใสมากกว่านี้ล่ะ ?

Governance Token คือคำตอบ ในโลกของการเงินแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Finance: DeFi) และองค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Autonomous Organizations: DAOs) โทเคนเหล่านี้เป็นตัวแทนของเสียงโหวต ทำให้ทุกคนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นว่าแต่ละโครงการควรมีแนวทางในการดำเนินงานอย่างไร

หลักการทำงานของ Governance Token

จริง ๆ จะสมมุติให้ Governance Token เป็นเหมือนกาวที่คอยยึด DAO DeFi และ dApps เข้าไว้ด้วยกันก็ได้ โทเคนเหล่านี้มักให้เป็นรางวัลแก่ผู้ที่ใช้งานอยู่ และมอบสิทธิ์ในการออกเสียงให้กับผู้ถือในการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญ 

ระบบการลงคะแนนแบบประชาธิปไตยนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการยังคงแข็งแกร่งและก้าวหน้า (ถึงแม้จะออกแนวทุนนิยม) โดยปกติแล้ว กระบวนการออกเสียงจะเป็นไปโดยอัตโนมัติผ่าน Smart contract ซึ่งหมายความว่าผลลัพธ์จากการโหวตจะถูกนำไปใช้โดยปราศจากการแทรงแซง

ยกตัวอย่าง MakerDAO ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกระบบ Governance Token ในยุคแรก ๆ และเป็นผู้ออกเหรียญ Stablecoin DAI อีกด้วย โดย DAO ของ MakerDAO ถูกควบคุมผ่านโทเคน MKR ซึ่ง 1 MKR = 1 เสียง ผู้ถือโทเคนสามารถลงคะแนนในการตัดสินใจต่าง ๆ นับตั้งแต่การตั้งสมาชิกในทีม ไปจนถึงการออกกฎ ซึ่งมีเป้าหมายก็คือ เพื่อรักษาความโปร่งใส เสถียรภาพ และประสิทธิภาพของ Stablecoin ของ MakerDAO หรือ DAI นั้นเอง

มาดู Compound ที่เป็นโปรโตคอล DeFi กันบ้าง โดย Compound เป็นแพลตฟอร์ม Borrow & Lending ที่ผู้ใช้สามารถให้ยืมและยืมเงินได้ โดยมี Governance Token ที่ชื่อ COMP ซึ่งให้อำนาจแก่ชุมชนในการลงคะแนน 

COMP ได้มาจากกิจกรรมของคุณบนแพลตฟอร์ม ยิ่งคุณให้กู้และยืมเงินมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งได้โทเคน COMP มากเท่านั้น และเช่นเดียวกับ MakerDAO 1 COMP = 1 เสียง และคุณยังสามารถ Delegate หรือมอบเสียงของคุณให้กับผู้อื่นเพื่อลงคะแนนแทนคุณได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่ใช้ Governance Token เช่น Uniswap, PancakeSwap, Aave, Optimism และ Arbitrum ซึ่งแต่ละโครงการกำหนดกฎ วิธีการทำงาน และวิธีการแจกจ่ายโทเคนแตกต่างกันออกไป

ข้อดีข้อเสียของ Governance Token 

Governance Token สามารถจัดการกับการขัดแย้งด้านประโยชน์ซึ่งมักพบในระบบแบบ Centralized ได้ เนื่องจากอำนาจในการตัดสินใจถูกกระจายไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใหญ่ 

นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนรวมและทำงานร่วมกัน ผู้ถือโทเคนจะมีแรงจูงใจในการลงคะแนนเพื่อปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น (ในความคิดของตน) และเมื่อหนึ่งโทเคนเท่ากับหนึ่งเสียง การตัดสินใจจึงยุติธรรมและเท่าเทียมมากขึ้น ผู้ถือโทเคนทุกคนสามารถเสนอข้อเสนอสำหรับการลงคะแนนได้ รายละเอียดต่าง ๆ จะเปิดให้ทุกคนได้เห็น ซึ่งช่วยลดโอกาสในการทำผิดกติกา

แต่ Governance Token ก็มาพร้อมกับด้านที่แย่เหมือนกัน ปัญหาสำคัญคือ เนื่องจากมันเป็นระบบแบบทุนนิยม ทำให้วาฬหรือบรรดาคนรวย สามารถเข้ามาถือครอง Governance Token จำนวนมหาศาลได้ และกลายเป็นเสียงจำนวนมากในการลงคะแนน 

ซึ่งวาฬก็สามารถลงคะแนนให้เหมาะกับความต้องการของพวกเขาได้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องแน่ใจว่า โทเคนจะถูกกระจายให้กับชุมชนอย่างเท่าเทียม

และเพียงเพราะเสียงข้างมากกลายเป็นกฎ ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะตัดสินใจได้ดีที่สุดเสมอไป ในบางกรณีที่ผู้ถือโทเคนโหวตสนับสนุนทีมผู้ก่อตั้งและนักลงทุนหลายใหญ่ ทำให้ชุมชนอาจจะต้องเสียผลประโยชน์บางอย่าง

อนาคตของ Governance Token

Governance Token เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจจากโลกคริปโต และสามารถถูกยอมรับได้ในวงกว้าง เนื่องจาก DeFi และ DAO ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น เกม อาจนำระบบการกำกับดูแลแบบนี้ไปใช้

โทเคนเหล่านี้ยังคงพัฒนาและปรับปรุงให้เข้ากับสิ่งใหม่ ๆ ในอนาคต อาจมีระบบใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อจัดการปัญหาวาฬ และจัดการระบบการลงคะแนนเสียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กฎระเบียบยังสามารถกำหนดอนาคตของ Governance Token รัฐบาลบางแห่งอาจจัดประเภทโทเคนเหล่านี้เป็นหลักทรัพย์ โดยอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวด และอาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงาน

ในขณะที่ Governance Token ยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ แต่โทเคนเหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเติบโตของ DeFi และ DAO พวกเขามอบอำนาจให้กับผู้ใช้และชุมชน โดยมีเงื่อนไขว่าจะมีการแจกจ่ายโทเคนอย่างยุติธรรม เพื่อศักยภาพในการสร้างระบบนิเวศแบบกระจายอำนาจที่แข็งแกร่ง 

อนาคตของ Governance Token ดูเหมือนจะสดใส ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่ายบล็อกเชน DeFi โครงการ Web3 หรือว่าเกม พวกเขาสามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานและการมีส่วนรวมของสมาชิกในชุมชนได้

อ้างอิงจาก: https://academy.binance.com/en/articles/what-are-governance-tokens 

.

ติดตามข้อมูลสาระน่ารู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีได้ที่นี่ และดาวน์โหลด Binance TH by Gulf Binance ได้ที่ https://bit.ly/try-BinanceTH

คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้