KYC (Known Your Customer) คืออะไร ?

2024-08-14

KYC ? ไม่ต้องเป็นห่วงไปถ้าหากว่าคุณไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยเห็นตัวย่อนี้มาก่อน KYC ย่อมาจาก Know Your Customer ซึ่งมีบทบาทสำคัญในโลกการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมคริปโทเคอร์เรนซี เรามาดูกันว่ามันคืออะไร

KYC คืออะไรกันแน่ ?

ลองนึกภาพว่าถ้าร้านขนมหวานที่คุณชอบไปกิน ทำการขอตรวจสอบบัตรประชาชนของคุณก่อนที่จะให้คุณสั่งขนม มันอาจจะดูน่ารำคาญ ? ก็อาจจะนะ แต่ถ้าถามว่ามันจำเป็นมั้ย ก็ต้องตอบว่าแน่นอนอยู่แล้ว นั้นเป็นวิธีการทำงานของ KYC ในโลกของการเงิน รวมไปถึงในโลกของคริปโตด้วย

เพื่อต่อสู้และป้องกันพวกวายร้าย (การฟอกเงิน, การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มผู้ก่อการร้าย หรือพวก Scammer) ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น กระดานเทรดต่าง ๆ จะขอให้คุณพิสูจน์และยืนยันตัวตนว่าคุณเป็นใคร คุณสามารถทำได้ด้วยเอกสารทางราชการอย่าง บัตรประชาชน ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง

ขั้นตอนนี้เหมือนกับที่คุณต้องใช้บัตรประชาชนในการเข้าสถานบันเทิง แต่ว่าระบบการ KYC ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยมากกว่าเรื่องอายุ เช่น กระดานเทรดอาจจะอนุญาตให้คุณเปิดบัญชีได้ แต่คุณจะยังไม่สามารถซื้อขายได้ถ้าหากว่ายังไม่ได้ทำการ KYC

ใครเป็นคนตั้งกฎเหล่านี้ ?

เช่นเดียวกับกฎระเบียบในโรงเรียนที่แตกต่างกันในทุกประเทศ แต่ทุกประเทศต้องมีกฎหมายบางรูปแบบ กฎข้อบังคับ KYC มุ่งเน้นไปที่การระบุตัวตนของลูกค้าที่เข้ามาใช้งาน กฎนี้กำหนดขึ้นโดยคำสั่งทั้งในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และเอเชียแปซิฟิก โดยมีหน่วยงานระดับโลกที่ชื่อ Financial Action Task Force (FATF) หรือ คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน คอยกำกับดูแลและทำให้มั่นใจว่าทุกที่จะปฏิบัติตามเหมือนกัน

ทำไมถึงต้องมีการ KYC ในโลกคริปโต

ด้วยธรรมชาติที่ลึกลับของสกุลเงินดิจิทัล ในบางครั้งมันเหมือนเป็นสนามเด็กเล็กที่ถูกเอาไปใช้ในกิจกรรมที่ไม่ดีหลายอย่าง เช่น การฟอกเงิน หรือการเลี่ยงภาษี ดังนั้น KYC จึงก้าวเข้ามาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ และรักษาความสงบเรียบร้อยในสนามเด็กเล่นนี้ เพราะว่า 

  • การทำธุรกรรมในโลกคริปโตมันคือ One-Way trip ไม่มีทางให้ย้อนกลับ ถ้าหากว่าเราทำธุรกรรมผิดพลาดไปแล้ว มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะยกเลิกมัน

  • คริปโตเหมือนฮีโร่ที่สวมหน้ากาก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้มีการเปิดเผยตัวตน และไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวในการเปิดกระเป๋าคริปโต

  • เนื่องจากคริปโตเป็นของใหม่ ทำให้กฎหมายที่ใช้ควบคุมยังคงมีการพัฒนาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการฟอกเงินและการเสียภาษี

ถึงแม้ KYC จะดูเหมือนวิธีการที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ ซับซ้อนมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วมันทำให้เราและสินทรัพย์ของเราปลอดภัยมากกว่าเดิม

KYC มีประโยชน์อย่างไร

KYC ไม่เพียงแต่ต่อสู้กับเหล่าวายร้ายเท่านั้น แต่มันยังนำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมาสู่ระบบนิเวศทางการเงินอีกด้วย 

  • ช่วยให้ผู้ให้กู้สามารถประเมินความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้แนวทางการปฏิบัติในการปล่อยสินเชื่อมีความรับผิดชอบมากขึ้น

  • เป็นเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งจากการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวและการฉ้อฉลทางการเงินอื่น ๆ 

  • ช่วยลดความเสี่ยงของการฟอกเงิน

  • ช่วยเพิ่มความไว้วางใจ ความปลอดภัย และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการทางการเงิน

KYC vs Decentralization

ตั้งแต่เริ่มต้น คริปโทเคอร์เรนซีเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสรีภาพและการกระจายอำนาจ แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ทำให้มันกลายเป็นวิธีการยอดนิยมในการฟอกเงิน แม้ว่าการบังคับใช้ KYC กับกระเป๋าเงินคริปโตอาจเป็นเรื่องยาก แต่รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลยังคงต้องการให้บรรดากระดานเทรด ทำการ KYC ลูกค้าของตัวเอง

เสียงวิจารณ์ต่อ KYC

เช่นเดียวกับบรรดาฮีโร่ KYC ก็ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกคริปโต ที่เน้นไปที่เรื่องของความเป็นส่วนตัวและ Decentralized 

การ KYC มักมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ลูกค้ามักจะต้องเป็นคนจ่าย และไม่ใช่ทุกคนจะมีเอกสารสำหรับใช้ในการ KYC ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ นอกจากนี้ ข้อมูลส่วนตัวอาจถูกละเมิดและถูกขโมยได้ และสิ่งสำคัญเลยก็คือ KYC ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความเป็น Decentralized ของสกุลเงินดิจิทัล

บางครั้ง การ KYC ก็เหมือนเป็นครูที่น่ารำคาญที่จะไม่ยอมให้เราไปไหนจนกว่าเราจะทำการบ้านเสร็จ แต่เช่นเดียวกับการบ้านที่ทำให้เราเรียนรู้ การ KYC ก็ช่วยให้เงินของเราปลอดภัยและช่วยต่อสู้กับอาชญากรรม ถึงแม้ว่าเราจะบ่นเรื่อง KYC อยู่เป็นประจำ แต่เราก็สามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้มากขึ้นจากการ KYC

อ้างอิงจาก: https://bit.ly/3Wzzh0S 

.

ติดตามข้อมูลสาระน่ารู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีได้ที่นี่ และดาวน์โหลด Binance TH by Gulf Binance ได้ที่ https://bit.ly/try-BinanceTH

คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้