รวมทุกอย่างที่มือใหม่ต้องรู้ ทุกอย่างในวงการคริปโต คู่มือการลงทุนคริปโตสำหรับมือใหม่ฉบับสมบูรณ์
อะไรคือ Trading ?
สมัยเด็กๆ คุณเคยแลกเปลี่ยนสิ่งของกับเพื่อนไหม ? อย่างเช่น นายเอารถทามิย่าของเราไปสิ แต่เราขอแลกกับตุ๊กตาพาวเวอร์เรนเจอร์นะ อะไรทำนองนี้ นี้แหละคือการแนวคิดพื้นฐานของ Trading เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสองฝ่าย แต่ในโลกของการเงิน สิ่งของเหล่านั้นอาจเป็นหุ้น สกุลเงิน หรือคริปโทเคอร์เรนซี
ซึ่งในปัจจุบัน Trading ไม่ได้มีแค่การแลกเปลี่ยนกันในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังมีกลยุทธ์มากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้ง Day-trading, Swing Trading, Trend Trading และอื่นๆ อีกมากมาย เดี๋ยวเราเล่าเกี่ยวกับรายละเอียดย่อยๆ กันตอนหลัง แต่จำไว้ว่า การเป็น Trader นั้นมีมากกว่าหนึ่งวิธี
แล้วอะไรคือ Investing ?
การลงทุนหรือ Investing คือการที่คุณใช้ทรัพยากรของคุณ แล้วหวังว่าในอนาคต ทรัพยากรเหล่านั้นจะเติบโตและเพิ่มพูนมูลค่าให้มากกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น คุณใช้เงินซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยหวังว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะขายได้ราคาที่มากกว่าเดิม
แล้วอะไรคือความแตกต่างระหว่าง Trading กับ Investing ?
ลองนึกภาพนักวิ่งแข่ง 100 เมตรกับนักวิ่งมาราธอน Trader ก็เหมือนกับนักวิ่งแข่ง 100 เมตร ที่ใช้ความผันผวนของตลาด ทั้งขาขึ้นและขาลงในการทำกำไรอย่างรวดเร็ว ส่วน Investor ก็เหมือนกับนักวิ่งมาราธอน ที่เน้นระยะยาว เพื่อสะสมความมั่งคั่งให้มากขึ้นไป
แล้วสไตล์ไหนล่ะที่เหมาะกับคุณ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เพื่อดูกันว่าคุณเหมาะที่จะเป็น Trader หรือ Investor
โดยปกติแล้วในการตัดสินใจทั้ง Trader และ Investor ใช้วิธีการวิเคราะห์อยู่สองประเภทคือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) และ การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ก็เหมือนกับการทำตัวเป็นนักสืบ โดยคนที่ใช้วิธีการเหล่านี้จะคอยหาข้อมูลต่างๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สภาวะของอุตสาหกรรม หรืออย่างบนโลกคริปโตก็ดูพวก On-Chain Data เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล เหมือนช่างซ่อมเปิดฝากระโปรงรถดูว่า ไอรถคันนี้มันวิ่งได้อย่างไร
ในทางกลับกัน การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ก็เหมือนกับการเล่นกระดานโต้คลื่น โดยแทนที่จะดูว่าคลื่นควรเป็นอย่างไร นักโต้คลื่นจะศึกษาพฤติกรรมในอดีตของคลื่นว่าเป็นอย่างไร และทำนายอนาคตจากข้อมูลเหล่านั้น สำหรับ Trader นักวิเคราะห์มักจะใช้เทคนิคและเครื่องมือต่างๆ เพื่อศึกษาพฤติกรรมในอดีตของตลาด และพยายามที่จะคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต
โดยเฉพาะในตลาดคริปโต ที่ดูจะเหมาะสมกับ การวิเคราะห์ทางเทคนิค เพราะราคามักจะถูกขับเคลื่อนด้วยการเก็งกำไร
แล้วแบบไหนดีกว่ากันระหว่าง Fundametal Analysis vs Technical Analysis ?
จริงๆ แล้วมันก็เป็นคำถามที่ตอบยากนะ ถ้าจะให้เปรียบเทียบระหว่างถามว่าการเป็นนักสืบกับนักโต้คลื่นอย่างไหนดีกว่ากัน มันขึ้นอยู่กับว่า คุณเหมาะกับวิธีการแบบไหนมากกว่า จริงๆ การผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน อาจจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด เพราะวิธีการแต่ละแบบ ก็ให้ข้อมูล และมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
แล้วอะไรขับเคลื่อนตลาดการเงิน ?
อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาในตลาดการเงินเปลี่ยนแปลง ? เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปปัดฝุ่นหนังสือเศรษฐศาสตร์ เพราะความสมดุลระหว่าง Demand (อุปสงค์) กับ Supply (อุปทาน) คือสิ่งที่ทำให้ราคาในตลาดเงินเปลี่ยนแปลง
อย่างเช่น จำนวนหนังสือการ์ตูนรุ่นลิมิเต็ด กับจำนวนผู้ที่ต้องการ ก็ส่งผลกระทบต่อราคา แต่ทั้งนี้ ปัจจัยอื่นๆ อย่าง ภาวะเศรษฐกิจ ข่าวสาร หรืออารมณ์ของตลาด ก็ส่งผลกระทบต่อราคาได้เช่นกัน
แล้วอะไรคือ แนวโน้มของตลาด (market trend) ?
ทิศทางของการเคลื่อนไหวของราคา เราเรียกว่า แนวโน้มของตลาด (Market Trend) ลองจินตนาการว่าเรายืนอยู่บนถนน แล้วมองตรงไปข้างหน้า ถ้าเห็นทางขึ้น มันคือตลาดกระทิง (Bull Market) ถ้าเกิดเห็นทางลง มันคือตลาดหมี (Bear Market) และถ้าเห็นเป็นทางเรียบๆ เราเรียกว่าตลาดแบบไซด์เวย์ (Sideway Market) ซึ่งแนวโน้มของตลาดอาจจะมีอายุสั้นหรือยาวนานก็ได้ และภายในแนวโน้มใหญ่ ก็อาจมีแนวโน้มตรงกันข้ามที่เล็กกว่า
วัฏจักรของตลาด (Market Cycle)
วัฏจักรของตลาดก็เหมือนกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่นเดียวกับการสวมผ้าที่แตกต่างกันไปในฤดูกาลต่างๆ ทั้ง Trader และ Investor อาจเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตาม Market Cycle แต่การที่เราจะคาดเดาว่าเราอยู่ตรงช่วงไหนของวัฏจักรนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ
บทที่ 2 - ตลาดการเงินและเครื่องมือการซื้อขาย
Table of Content
เครื่องมือทางการเงินคืออะไร ?
Spot Market
Margin Market
Derivatives Market
Future Contracts Market
Perpetual Contracts Market
Options Contracts Market
Forex Market
Leveraged Token
เครื่องมือทางการเงินคืออะไร ?
กระโดดเข้ามาสู่บทที่ 2 โลกแห่งการเงิน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับตลาดเงินและเครื่องมือในการซื้อขายกัน โดยสมมุติว่า เรากำลังจะทำการแลกเปลี่ยนการ์ดกัน แต่แทนที่จะเป็นการ์ดโปเกม่อนหรือการ์ดยูกิ เราจะให้การ์ดเหล่านี้ เป็นตัวแทนของเงินสด ทองคำ หรือสิทธิความเป็นเจ้าของ
ดูเหมือนมันจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนใช่ไหม แต่แนวคิดพื้นฐานง่ายๆ ก็คือ ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตาม ยังไงมันก็สามารถซื้อขายได้
แต่แล้วคริปโทเคอร์เรนซีอยู่ตรงไหน ? จริงๆ คริปโตสามารถจัดอยู่ในประเภทต่างๆ ได้มากกว่าหนึ่งประเภท โดยอย่างง่ายที่สุดคือ มันเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ถึงอย่างนั้น สินทรัพย์ดิจิทัลที่ว่า มีศักยภาพในการสร้างระบบการเงินขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ DeFi (Deecntralized Finance) ที่เติบโตขึ้นมาท้าทายระบบแบบเดิม
ว่าแล้วเราก็ไปทำความรู้จักเครื่องมือการซื้อขายต่างๆ กัน
Spot Market
ลองนึกถึงตลาดที่คุณสามารถทำการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลของคุณให้กลายเป็นเงินสดได้ทันที ที่ที่คุณสามารถแลกเปลี่ยน BTC ให้กลายเป็น ETH ได้อย่างรวดเร็ว เหมือนกับที่คุณสามารถแลกเปลี่ยนการ์ดยูกิของคุณเป็นการ์ดโปเกม่อนได้ทันที นั่นแหละคือคำอธิบายสั้นๆ สำหรับตลาดสปอต
Margin Market
มาต่อกันที่ตลาดมาร์จิ้น (Margin Market) ลองนึกภาพว่าคุณสามารถยืมการ์ดโปเกม่อนของเพื่อนคุณมา แล้วนับไปแลกกับการ์ดยูกิหายากมาได้ ซึ่งมันก็คือการซื้อขายด้วยเงินหรือเหรียญที่คุณไปยืมมานั่นเอง
สิ่งนี้มีประโยชน์ยังไง ? มันก็สามารถช่วยให้คุณ ทำกำไรจากการซื้อขายได้มากขึ้น ด้วยจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น แต่ข้อควรระวังก็คือ การขาดทุนของคุณก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
และในตลาดมาร์จิ้น ก็จะมีเรื่องของเลเวอเรจ (Leverage) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งมาร์จิ้นหมายถึงจำนวนเงินทุนของคุณ และเลเวอเรจคือ จำนวนตัวคูณที่คุณเอาไปเพิ่มกับมาร์จิ้นของคุณ ยกตัวอย่างเช่น มาร์จิ้นของคุณคือ 100 ดอลลาร์ และเลเวอเรจคือ 2 เท่า นั่นหมายความว่า คุณทำการซื้อขายด้วยเงิน 100x2 = 200 ดอลลาร์นั่นเอง
ซึ่งข้อควรระวังอย่างที่สุดคือ ยิ่งคุณใช้จำนวนเลเวอเรจที่สูง จุดที่คุณจะถูกชำระบัญชี (Liquidation) ก็จะยิ่งใกล้กับราคาที่คุณเปิดสถานะมากขึ้นไปด้วย และอาจทำให้คุณสูญเสียเงินประกันทั้งหมดไป
Derivatives Market
ตลาด Derivatives หรือ ตลาดอนุพันธ์ เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่ได้รับมูลค่าจากสิ่งอื่น ซึ่งจะมาจากสินทรัพย์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ ตราสารอนุพันธ์คือสัญญาระหว่างที่สัญญาที่ได้รับราคาจากสินทรัพย์อ้างอิง
ควรรู้เอาไว้ว่า ตราสารอนุพันธ์สามารถสร้างจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้เกือบทั้งหมด ทำให้ตลาดอนุพันธ์เป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่มันค่อนข้างที่จะผันผวนและบางคนก็เชื่อว่าตลาดอนุพันธ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008
Future Contracts Market
Future Contracts หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบตราสารอนุพันธ์ ที่ช่วยให้นักลงทุน สามารถเดิมพันกับราคาในอนาคตของสินทรัพย์ได้ โดยจะเป็นข้อตกลงเพื่อทำการซื้อขาย ณ วันที่ในอนาคตที่กำหนด ซึ่งเมื่อสิ้นสุดสัญญา สัญญาจะหมดอายุและจะทำการซื้อขายตกลงโดยใช้ราคาในวันนั้น
Perpetual Futures Contracts Market
ปกติแล้วสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามักจะมีวันหมดอายุ แต่ถ้านักลงทุนอยากถือเอาไว้หลังจากที่สัญญาหมดอายุไปแล้วล่ะ ? นี้คือที่มาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบถาวร หรือ Perpetual Futures Contracts ทำให้นักลงทุนสามารถเก็งกำไรในราคาของสินทรัพย์ได้แบบไม่มีกำหนด และจะสามารถปิดสัญญาเมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ
และเพื่อไม่ให้ราคาของ Perpetual Futures Contract พุ่งเกินราคาของสินทรัพย์จริง จะมีการชำระค่าธรรมเนียมระหว่างนักลงทุนสองฝั่ง ถ้าเกิดราคาของฝั่ง Future สูงกว่าฝั่ง Spot นักลงทุนฝั่ง Long จะจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับฝั่ง Short ในทางกลับกัน ถ้าราคาฝั่ง Future ต่ำกว่า Spot นักลงทุนฝั่ง Short จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับฝั่ง Long
Options Contracts Market
Options Contracts หรือสัญญาออปชั่น เป็นผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ที่ให้สิทธิ์นักลงทุนในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดในอนาคต โดยนักลงทุนจะเก็งกำไรด้วยการเดิมพันว่า ราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต (Call options) หรือราคาจะลดลงในอนาคต (Put options) สัญญาออปชั่นสามารถอ้างอิงกับสินทรัพย์ที่หลากหลาย โดยมันมีประโยชน์สำหรับการจัดการและป้องกันความเสี่ยงของนักลงทุนที่ใช้มันอย่างถูกวิธี
Forex Market
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (The Foreign Exchange : Forex,FX) เป็นแพลตฟอร์มที่นักลงทุนสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินของประเทศหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่งได้ ถึงแม้ว่าสกุลเงินจะถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย แต่มูลค่าของมันเมื่อเทียบกับสกุลอื่นยังคงถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน อัตราเงินเฟ้อ และปัจจัยอื่นๆ อยู่ดี
ในตลาดฟอเร็กซ์ คู่สกุลเงินอาจมีการซื้อขายโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งธนาคารกลาง, บริษัทต่างๆ และนักลงทุนรายย่อย โดยนักลงทุนจำนวนมากใช้กลยุทธ์การซื้อขายรายวันเพื่อสร้างผลตอบแทน
Token Leveraged
โทเคนที่มีเลเวอเรจเป็นสินทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้ ซึ่งช่วยให้คุณได้รับเลเวอเรจในราคาของสกุลเงินดิจิทัลโดยที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับหลักประกันหรือการถูกชำระบัญชี (ต่างจาก Margin Market) Leveraged Token ยังอาจหมายถึงการถือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบถาวรที่อยู่ในรูปของโทเคน
บทที่ 3 - กลยุทธ์การซื้อขายและการลงทุน
Table of Content
อะไรคือกลยุทธ์การซื้อขาย
Portfolio Management
Risk Management
Day Trading
Swing Trading
Position Trading
Scalping
การจัดสรรสินทรัพย์และการกระจายความเสี่ยง
Down Theory
Elliott Wave Theory
Wyckoff Method
Buy and Hold
Index Investing
Paper Trading
อะไรคือกลยุทธ์การซื้อขาย ?
ลองนึกภาพว่าคุณเป็นกัปตันที่ออกเรือไปในทะเลของโลกการเงินและการลงทุนอันกว้างใหญ่ กลยุทธ์ในการซื้อขายของคุณคือแผนที่ที่คุณไว้ใจได้ มันเอาไว้ใช้สำหรับนำทางฝ่าคลื่นและพายุที่รุนแรง และบนโลกการเงิน ไม่มีแผนที่ใดเหมือนกัน เนื่องจากปลายทางของกัปตันเรือแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
กลยุทธ์การซื้อขายเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจำเป็นต้องมี ทำให้คุณติดตามและช่วยหยุดคุณจากการตัดสินใจที่หุนหันพลันแล่นในช่วงเวลาที่ร้อนระอุ มันจะระบุสิ่งที่คุณกำลังจะซื้อขาย วิธีการ จุดเข้าและจุดออกของคุณ
Portfolio Management
Portfolio Management ก็เหมือนกับการสร้างและดูแลหีบสมบัติของการลงทุน พอร์ตของเราคือของสะสมที่มีค่า ทั้งหุ้น ทองคำ สินทรัพย์อื่นๆ รวมไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ขั้นตอนแรกในการสร้างหีบสมบัติคือ การรู้ว่าเราคาดหวังอะไร คุณอาจจะต้องการสะสมความปลอดภัยและมั่นคง หรือคุณอาจจะต้องการเสี่ยงเพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่มากกว่าเดิม
แนวคิดเกี่ยวกับ Portfolio Management นั้นมีประโยชน์ คนเรามีความชอบไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะชอบกลยุทธ์แบบผ่อนคลาย ปล่อยให้การลงทุนของเราเติบโตด้วยตัวมันเอง หรือบางคนอาจจะปรับใช้กลยุทธ์ที่ใช้อยู่บ่อยๆ ทำการซื้อขายสินทรัพย์ด้วยความถี่ที่มากขึ้น เพื่อทำกำไร
Risk Management
การจัดการความเสี่ยง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จ ซึ่งเริ่มต้น
รู้ถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
รู้จักถึงความเสี่ยงของตลาด
รู้จักถึงความเสี่ยงของสภาพคล่องในสินทรัพย์ที่ลงทุน
รู้จักความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ ทั้งอุบัติเหตุ, ความผิดพลาดของมนุษย์หรือเทคโนโลยี
รู้จักความเสี่ยงเชิงระบบ อย่างเช่นยักษ์ใหญ่ในตลาดล้มลงจนส่งผลกระทบไปทั่ว
การระบุความเสี่ยงนั้นเกี่ยวข้องกับการพิจารณาปัจจัยทั้งภายในและภายนอก โดยต่อไปเราจะประเมินและจัดอันดับความเสี่ยงด้วย ความถี่ที่เกิดขึ้นและความรุนแรง
โดยการจัดอันดับความเสี่ยงและการทำความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ทำให้เราสามารถออกแบบกลยุทธ์และวางแผนรับมือล่วงหน้าได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่นเราสามารถกระจายความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยจากตลาด และป้องกันการขาดทุนที่อาจเกิดจากปัจจัยเชิงระบบได้
Day Trading
การซื้อขายรายวันเป็นกลยุทธ์ที่เราจะทำการเปิดและปิดตำแหน่งการลงทุนของเราภายในวันเดียว คำนี้มาจากตลาดแบบดั้งเดิมอย่างเช่นตลาดหุ้นที่มีเวลาเปิดปิด แต่ตลาดคริปโตนั้นเปิดตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ทำให้ Day Trading ของเราคือการซื้อขายตลอดทั้งวันทั้งคืนภายใน 24 ชั่วโมง
Day Trader มักใช้การ Technical Analysis หรือวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อเลือกสินทรัพย์ในการลงทุน ด้วยกรอบระยะเวลาที่สั้น กำไรอาจจะน้อย ทำให้เทรดเดอร์หลายคนกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์หลายตัว เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้มากขึ้น การเป็น Day Trader นั้นถึงแม้จะสามารถทำกำไรได้ทุกวัน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูง ทำให้เหมาะสำหรับคนที่ช่ำชอง หรือใครจะเริ่มต้นลองของก็ได้ไม่ว่ากัน
Swing Trading
Swing Trading เกี่ยวข้องกับการทำกำไรจากแนวโน้มของตลาด (Market Trend) ภายในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น อาจจะสองสามวันหรือหลายเดือน มีเป้าหมายเพื่อมองหาสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำและมีโอกาสเติบโตมากกว่าแนวโน้มของตลาด หรือมองหาสินทรัพย์ที่มูลค่าสูงเกินจริง และอาจร่วงต่ำกว่าแนวโน้มของตลาดก็ได้
หรือจะเรียกได้เวลาเป็นการมองหาสินทรัพย์ที่ถูกเกิน ไปขายตอนแพง หรือขายสินทรัพย์ที่แพงเกิน ก่อนมันจะร่วงลงไป
เทรดเดอร์สไตล์นี้มักจะใช้ Technical Analysis เป็นส่วนใหญ่ แต่การ Fundamental Analysis หรือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก็มีประโยชน์เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว Swing Trading จะเหมาะกับผู้เริ่มต้น เพราะเป็นทางเลือกที่เครียดน้อยกว่า Day Trading
Position Trading
เป็นกลยุทธ์ในการซื้อขายระยะยาว ที่นักลงทุนจะซื้อสินทรัพย์แล้วถือครองเป็นระยะเวลาหลายเดือน หรืออาจจะเป็นปี โดยมีเป้าหมายเพื่อขายทำกำไรที่มากขึ้นอนาคต
สิ่งที่ทำให้ Position Trading ต่างจาก Swing Trading คือ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการซื้อขาย นักลงทุนสไตล์นี้มักมองแนวโน้มของตลาดในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า แล้วทำการแสวงหาผลกำไรจากทิศทางตลาดโดยรวม พวกเขามักจะใช้ Fundamental Analysis แต่ Technical Analysis ก็สามารถส่งสัญญาณกลับตัวของแนวโน้มตลาดได้เช่นกัน
Position Trading ก็เช่นเดียวกับ Swing Trading คือเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น การลงทุนในระยะยาวช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น
Scalping
Scalping เป็นกลยุทธ์ในการลงทุนที่เน้นกรอบระยะเวลาสั้นๆ แบบสั้นสุดๆ โดยเทรดเดอร์สไตล์นี้ตั้งเป้าจะทำกำไรจากความผันผวนของราคา ซึ่งมักจะเข้าออกจากตำแหน่งการลงทุนภายในระยะเวลา 1 นาที 5 นาที 15 นาที หรือแค่ 2-3 ชั่วโมง เป็นต้น โดยส่วนมากแล้วมักจะใช้ Technical Analysis เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงสั่นๆ
Scalping มักจะทำกำไรให้เพียงเล็กน้อย แต่กำไรจำนวนน้อยๆ ก็สามารถสะสมเป็นเงินที่มากขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับผู้ที่เข้าใจตลาดอย่างดี ไม่แนะนำสำหรับมือใหม่
การจัดสรรสินทรัพย์และการกระจายความเสี่ยง
มันก็เหมือนการที่คุณจะไม่เก็บไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว การลงทุนทรัพยากรทั้งหมดของคุณไว้ในสินทรัพย์เดียวหรือสินทรัพย์ประเภทเดียวกันมีความเสี่ยงแบบสุดๆ ซึ่งหากมันเกิดปัญหาหรือผิดแผนขึ้นมา คุณอาจจะเสียทรัพยากรทั้งหมดของคุณไป
การกระจายความเสี่ยงในโลกคริปโตไม่ใช่แค่ว่า คุณจะถือครองคริปโตหลายสกุลเท่านั้น สมมุติในอนาคตมีการห้ามซื้อขายคริปโตขึ้นมา สินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมด รวมถึงคริปโตของคุณ ก็จะได้รับผลกระทบ เพราะมันเป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน
ตามหลักการแล้ว คุณควรจะกระจายเงินลงทุนของคุณไปในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท ถ้าหากสินทรัพย์ประเภทใดมีปัญหาขึ้นมา มันก็จะไม่กระทบกับเงินลงทุนในส่วนอื่นๆ ของคุณ Harry Markowitz ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ได้อธิบายแนวคิดนี้ด้วยทฤษฎี Modern Portfolio Theory โดยเขาแนะนำให้เรากระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ที่เป็นคนละประเภทกัน เพื่อลดความผันผวนและความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด
Dow Theory
Dow Theory เป็นทฤษฎีที่ดูเข้าใจง่ายในโลกการเงิน ซึ่งคิดค้นขึ้นมาโดย Charles Dow ผู้ก่อตั้ง Wall Street Journal ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยบอกว่าแนวคิดของเขาคือ Dow Theory แต่งานเขียนของตัวเขาก็ได้รวมเอาแก่นแท้ของมันเข้าไว้ด้วยกัน
Dow เชื่อว่ากราฟราคาของสินทรัพย์ ได้บอกข้อมูลทุกอย่างเอาไว้หมดแล้ว โดยเขานิยามสั้นๆ ว่า “Everything is priced in” ซึ่งเรียกว่า Efficient Market Hypothesis หรือ สมมุติฐานตลาดที่มีประสิทธิภาพ เป็นแนวคิดที่ว่า ตลาดและราคาของสินทรัพย์ ได้สะท้อนข้อมูลที่มีทั้งหมดเกี่ยวกับสินทรัพย์แล้ว
ตามหลักการของเขา แนวโน้มของตลาดนั้นมี 3 ประเภทคือ Primary, Secondary และ Tertiary ซึ่งในช่วง Primary นั้นจะมีด้วยกัน 3 ส่วนคือ Accummulation Phase, Public Participation Phase และ Distribution Phase
นอกจากนี้ Dow ยังยืนยันว่า หากมีดัชนีใดเริ่มแสดงแนวโน้มหรือเทรนด์ออกมา ต้องใช้ดัชนีอื่นๆ เข้ามายืนยันแนวโน้มดังกล่าวด้วย โดยแนวโน้มจะต้องมีปริมาณการซื้อขายที่สูงกว่าเดิมเพื่อทำการยืนยัน สุดท้าย เมื่อแนวโน้มได้รับการยืนยันแล้ว ตลาดจะยังคงอยู่ในแนวโน้มนั้นไปจนกว่าจะมีสัญญาณที่ชัดเจนของการกลับตัวหรือเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม แต่จริงๆ แล้วนี่เป็นเพียงทฤษฎีหนึ่งเท่านั้น อาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป ถึงอย่างนั้นก็มีนักลงทุนจำนวนมากที่ใช้เทคนิค Dow Theory
Elliott Wave
หลักการนี้จะชี้ให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ จะสะท้อนความคิดของนักลงทุนในตลาด โดย Elliott Wave จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ตลาดมากกว่าที่จะเป็นเทคนิคที่ใช้ในการซื้อขายโดยเฉพาะ
เรามักจะได้เห็น Elliott Wave ในรูปชุดการเคลื่อนที่กราฟแบบเป็นคลื่น 8 คลื่น บางคลื่นก็เป็นไปตามเทรนด์ (Motive Waves) และบางคลื่นก็เป็นการสวนเทรนด์ (Corrective Waves)
บนทฤษฎี Elliott Wave เราจะเห็นเป็นคลื่นใหญ่ๆ และเมื่อเราซูมเข้าไปดูในคลื่นใหญ่แต่ละคลื่น เราก็จะเห็นเป็นคลื่นเล็กๆ ซ้อนกันอยู่ อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้มักเป็นที่ถกเถียงกัน โดยบางคนบอกว่าเงื่อนไขของมันนั้นคลุมเครือเกินไป ทำให้นักลงทุนสามารถระบุคลื่นได้หลากหลายแบบ
เช่นเดียวกับ Dow Theory ทฤษฎี Elliott Wave นั้นไม่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันการขาดทุนได้แบบ 100% แต่อาจจะมีประโยชน์มากเมื่ออยู่ในมือคนที่เข้าใจมันอย่างถ่องแท้ และนำไปใช้กับเครื่องมืออื่นๆ
Wyckoff Method
กลยุทธ์การซื้อขายด้วย Wyckoff ถูกคิดค้นขึ้นโดย Charles Wyckoff ในช่วงปี 1930 โดยทฤษฎีนี้เป็นเหมือนรากฐานสำคัญสำหรับ Technical Analysis ในยุคใหม่
มีกฎพื้นฐาน 3 ข้อในทฤษฎีนี้คือ กฎของอุปสงค์และอุปทาน, กฎของเหตุและผล และกฎของความพยายามและผลลัพธ์ ทฤษฎี Composite Man ของเขาได้สอดคล้องกับ Dow Theory ซึ่งมันกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับนักลงทุนในตลาด
วิธีการของ Wyckoff ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ ค้นหาแนวโน้มของตลาด, ค้นหาสินทรัพย์ที่แข็งแกร่ง, ค้นหาสินทรัพย์มีเหตุผลในการเข้าซื้อมากพอ, ประเมินความเป็นไปได้ของราคาในอนาคต และสุดท้าย เลือกจุดเข้าลงทุน
Wyckoff Method ถูกคิดค้นมาเกือบร้อยปีแล้ว แต่มันก็ยังมีประโยชน์อย่างมากกับนักลงทุนทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ แต่จำเอาไว้ว่ามันไม่มีอะไรที่แน่นอน 100%
Buy and Hold
วิธีนี้เป็นวิธีง่ายๆ มันคือการซื้อแล้วถือเอาไว้โดยไม่สนใจความผันผวนในระยะสั้นของราคา กลยุทธ์นี้เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ต้องการทำการซื้อขายบ่อยๆ และก็ไม่อยากที่จะต้องมาเครียดกับราคาที่ขึ้นๆ ลงๆ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ต้องใช้ความอดทนและความเชื่อว่าสินทรัพย์ที่ซื้อจะไม่ไร้ค่าเมื่อเวลาผ่านไป
Paper Trading
เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้เริ่มต้น เพราะมันคือการซื้อขายแบบหลอกๆ ที่ทำเหมือนกับว่าเรากำลังใช้เงินจริงๆ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่ดีอย่างยิ่งในการทดสอบกลยุทธ์ในการลงทุนของเรา ก่อนที่จะลงสู่สนามจริง
บทที่ 4 - ทำความรู้จักกับพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis Basics)
Table of Content
Long & Short
Order Book
Order Book Depth
Market Order
Slippage
Limit Order
Stop-Loss Order
Makers & Takers
Bid-Ask Spread
Candlestick Chart
Candlestick Chart Pattern
Trend Line
Support and Resistance
Long & Short
ลองจินตนาการว่าตอนนี้เราอยู่ในสวนสนุก และเรากำลังยืนอยู่หน้ารถไฟเหาะตีลังกา การ Long ก็เหมาะกับการที่เราซื้อตั๋วเข้านั่งในรถไฟเหาะอย่างตื่นเต้น แล้วหวังว่ารถไฟจะพาเราพุ่งขึ้นไปสูงๆ เหมือนกับเราหวังให้ราคาของสินทรัพย์ที่เราซื้อเพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ในการ Long มักเป็นขั้นเริ่มต้นของนักลงทุนหน้าใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในโลกของคริปโต การ Long อาจจะไม่ได้ถึงการคาดหวังว่าราคาจะขึ้นเสมอไป ตัวอย่างเช่น Leverage Token เช่น BTCDOWN ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับราคาของ Bitcoin ซึ่งถ้าราคาของ Bitcoin ลดลง ราคาของ BTCDOWN ก็จะสูงขึ้น ดังนั้นการ Long BTCDOWN หมายถึงเราเดิมพันว่าราคาของ Bitcoin จะลดลง
ถ้าการ Long คือการขึ้นรถไฟเหาะ การ Short ก็คือการเล่นบันจี้จัมป์ โดยที่คุณทำการซื้อตั๋วเข้าไปเล่น แล้วหวังให้พนักงานผลักคุณตกลงไปข้างล่าง เหมือนกับการที่เราขายสินทรัพย์ของเราออกไปก่อน แล้วหวังว่าจะได้ทำการซื้อคืนเมื่อราคามันถูกลงในอนาคต
การ Short จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้นเมื่อมีการยืมสินทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อคุณคิดว่าสินทรัพย์จะราคาลดลง คุณก็ยืมมันมาและทำการขายทันที แล้วซื้อคืนเมื่อราคามันตกลง นำสินทรัพย์ที่ยืมมาไปคืน แล้วส่วนต่างของราคาคือกำไรของเรา
เช่น คุณยืม Bitcoin และขายในราคา $20,000 เมื่อราคาลดลงเหลือ $15,000 ดังนั้นคุณจึงซื้อ Bitcoin ไปคืน และเก็บส่วนต่าง $5,000 เอาไว้เป็นกำไร
Order Book
ลองนึกภาพคุณอยู่ที่หน้าตู้ขายตัวหนัง โดยมันมีรายการตั๋วทั้งหมดที่กำลังขายอยู่ รวมไปถึงราคาที่จะขายของผู้ขายแต่ละราย นั่นแหละคือ Order Book มันเป็นรายการคำสั่งซื้อและขายทั้งหมดสำหรับสินทรัพย์ โดยจัดเรียงตามราคา
หากคุณวางคำสั่งซื้อขายที่ไม่ได้ถูกดำเนินการในทันที ก็เหมือนกับการทิ้งตั๋วไว้ที่หน้าตู้ จนกว่าจะมีคนมาซื้อ หรือจนกว่าคุณจะทำการยกเลิกการขาย กระดานเทรดโดยส่วนใหญ่ใช้ระบบที่เรียกว่า Matching Engine เพื่อทำการจับคู่คำสั่งซื้อขาย คล้ายกับผู้จัดคอนเสิร์ตที่ต้องทำให้แน่ใจว่า ผู้ซื้อตั๋วทุกคนจะได้รับการจับคู่กับผู้ขายตั๋ว
Order Book Depth
สมมุติว่างานคอนเสิร์ตมีตั๋วเข้าชมขายเป็นจำนวนมาก นั้นหมายความว่า เรามีโอกาสที่จะได้ตั๋วในราคาที่สมเหตุสมผลใช่ไหม ? เหมือนกันกับ Order Book Depth ที่มีสภาพคล่องมากๆ
Order Book Depth ที่ลึกหรือหนา จะสามารถรองรับคำสั่งซื้อขายจำนวนมากได้โดยที่มีผลกระทบต่อราคาไม่มากนัก แต่ถ้างานคอนเสิร์ตมีตั๋วเพียงไม่กี่ใบ การซื้อขายจำนวนมากก็อาจทำให้ราคาผันผวนอย่างรุนแรง เหมือนกับ Order Book Depth ที่ตื้นหรือบาง
Market Order
เมื่อเราหิวมากๆ และไม่สนว่าราคาอาหารจะเท่าไหร่ เราก็สามารถซื้ออาหารที่เร็วที่สุดที่มีอยู่ได้ คล้ายกับ Market Order เรากำลังบอกให้แพลตฟอร์ม ทำการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่เราต้องการด้วยราคาที่ดีที่สุดที่มีอยู่ใน Order Book
คำสั่งซื้อขายของเราจะได้รับการเติมเต็มจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ แต่จำเอาไว้ว่า ถ้าคุณซื้อเบอร์เกอร์ 50 ชิ้นในรอบเดียว ร้านค้าก็อาจจะไม่มีให้คุณ หรืออาจจะขึ้นราคาของเบอร์เกอร์ เช่นเดียวกัน ถ้าคุณทำสิ่งนี้ในตลาดที่มี Order Book Depth ที่บางหรือตื้น ก็อาจทำให้เกิดการขาดแคลนและทำให้ราคาของมันสูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เรียกว่า “Slippage”
Slippage
สมมุติว่าคุณต้องการซื้อหนังสือการ์ตูนหายากมูลค่า 10 BTC แต่มันหายากมากๆ และไม่ค่อยมีคนขาย การสั่งซื้อของคุณ อาจทำให้ราคาของหนังสือการ์ตูนสูงขึ้น และคุณอาจต้องจ่ายเงินมากกว่าที่คุณคาดไว้ ราคาที่จ่ายจริงสูงกว่าที่คาดเอาไว้เนื่องจากขาดสภาพคล่องเรียกว่า Slippage
โปรดจำเอาไว้เมื่อทำการซื้อขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมหรือสภาพคล่องน้อย ซึ่งอาจมีผู้ขายไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มคำสั่งซื้อจำนวนมากของคุณ
Limit Orders
เราอาจจะตัดสินใจที่จะไม่ซื้อของบางอย่างเพราะมันแพงเกินไป หรืออาจไม่ขายของเพราะมันถูกเกินไป Limit Order นั้นช่วยคุณได้ มันเป็นคำสั่งให้ซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาเฉพาะที่เราตั้งเอาไว้เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อตั้ง Limit Orders มันคือการบอกว่า เราต้องการซื้อหรือขายสินทรัพย์นี้ ในราคานี้หรือดีกว่าเท่านั้น
Limit Orders สามารถช่วยควบคุมราคาที่คุณต้องการลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงที่ราคาของสินทรัพย์อาจจะไปไม่ถึงราคาที่คุณตั้งไว้ หรือคำสั่งซื้อขายของคุณอาจจะไม่ได้รับเติมเต็มทั้งหมด เหมือนกับการที่เรารอให้เกมมันลดราคาแต่มันไม่เคยลดเลย จนเราอดที่จะเล่นมัน
Stop-Loss Order
ตอนนี้คุณเข้าใจตลาดและจำกัดคำสั่งแล้ว เรามาไขความลับของ Stop-Loss Order กัน ลองนึกภาพว่านี้เป็นเครื่องมือเกี่ยวกับความปลอดภัย จะเริ่มใช่งานเมื่อราคาถึงจุดจุด หนึ่ง - ถึง Stop Price - คำสั่งเพื่อความปลอดภัยจะถูกใช้งาน
วัตถุประสงค์หลักของ Stop-Loss คือการจำกัดการขาดทุน มันเหมือนมีเบรกฉุกเฉิน คุณวาดเส้นไว้ล่วงหน้า แล้วถ้าหากราคาข้ามเส้นนี้ แสดงว่าการเข้าซื้อขายของคุณไม่ถูกต้องตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และคุณต้องออกจากตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนเพิ่มเติม Stop-Loss นี้เป็นที่ที่คุณมักจะวางคำสั่งเพื่อหยุดการขาดทุน
Stop-Loss ทำงานอย่างไร?
ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ มันสามารถทำหน้าที่เป็นทั้งคำสั่งจำกัดหรือคำสั่งตลาด ดังนั้นจึงมีเงื่อนไขคำสั่งหยุดคำสั่งและคำสั่งหยุดตลาด เมื่อถึงราคาหยุด มันจะกระตุ้นตลาดที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือคำสั่งจำกัดของคุณ
สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ต้องจำไว้คือคำสั่งจำกัดจะดำเนินการที่ราคาจำกัดหรือราคาที่ดีกว่าเท่านั้น แต่ไม่เคยแย่กว่านั้น ในตลาดที่ผันผวน คำสั่ง stop-limit ของคุณอาจถูกทริกเกอร์ แต่ถ้าราคาตลาดดิ่งลงอย่างกะทันหัน คำสั่งของคุณอาจไม่ได้รับการเติมเต็มเนื่องจากราคาเคลื่อนออกจากราคาจำกัดของคุณ นั่นเป็นเหตุผลที่คำสั่งหยุดตลาดโดยทั่วไปถูกมองว่าปลอดภัยกว่า - แม้ในสภาวะตลาดที่รุนแรง คำสั่งเหล่านี้รับประกันการออกของคุณเมื่อถึงราคาหยุด
Makers และ Takers
ลองนึกภาพตลาดที่พลุกพล่าน คุณเป็นผู้สร้างเมื่อคุณเพิ่มสิ่งใหม่เข้าสู่ตลาด - คำสั่งซื้อที่ไม่ได้รับการเติมเต็มในทันทีและแสดงรายการในสมุดคำสั่งซื้อ เนื่องจากคำสั่งซื้อของคุณมีส่วนช่วยในสภาพคล่องของสมุดคำสั่งซื้อ คุณกำลังสร้างหรือสร้างสภาพคล่อง
โดยทั่วไป คำสั่งจำกัดจะดำเนินการตามคำสั่งของผู้ผลิต แม้ว่าจะมีข้อยกเว้น ลองนึกภาพการตั้งวงเงินคำสั่งซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบันมาก คำสั่งของคุณจะดำเนินการที่ราคาตลาดเนื่องจากต่ำกว่าราคาที่คุณจำกัดไว้
คุณเป็นผู้รับเมื่อคุณบริโภคสิ่งที่มีอยู่แล้วในตลาด - วางคำสั่งซื้อที่เต็มทันที คำสั่งซื้อของคุณไม่ได้เพิ่มลงในสมุดคำสั่งซื้อ แต่จะจับคู่กับคำสั่งซื้อที่มีอยู่แทน ขณะที่คุณกำลังดึงสภาพคล่องจากสมุดคำสั่งซื้อ คุณเป็น "ผู้รับ" คำสั่งซื้อขายในตลาดจะเป็นคำสั่งซื้อของผู้รับเสมอ
การแลกเปลี่ยนมักจะใช้รูปแบบค่าธรรมเนียมเป็นชั้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้ค้าจัดหาสภาพคล่องโดยผู้ผลิตมักจะจ่ายค่าธรรมเนียมต่ำกว่าผู้รับ นี่เป็นเพราะพวกเขาเพิ่มสภาพคล่องในการแลกเปลี่ยน ในบางกรณี พวกเขาอาจให้ส่วนลดค่าธรรมเนียมแก่ผู้ผลิต
Bid-Ask spread
สเปรดราคาเสนอซื้อคือช่องว่างระหว่างคำสั่งซื้อสูงสุด (ราคาเสนอซื้อ) และคำสั่งขายต่ำสุด (ราคาเสนอขาย) สำหรับตลาดที่กำหนด มันเหมือนกับการวัดระยะทางระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดบนเนินเขา
สเปรดมีแนวโน้มบ่งชี้ถึงสภาพคล่องของตลาด - ยิ่งช่องว่างเล็กลงเท่าใด ตลาดก็ยิ่งมีสภาพคล่องมากขึ้นเท่านั้น สเปรดนี้ยังสามารถแสดงถึงอุปทาน (ด้านถาม) และอุปสงค์ (ด้านราคาเสนอ) สำหรับสินทรัพย์เฉพาะ
เรื่องราวของแผนภูมิแท่งเทียน
แผนภูมิแท่งเทียนเปรียบเสมือนไทม์แลปส์ของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนด แท่งเทียนแต่ละแท่งแสดงถึงระยะเวลาเท่าๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งชั่วโมง หนึ่งวัน ฯลฯ
แท่งเทียนประกอบด้วยสี่ส่วน: เปิด สูง ต่ำ และปิด (OHLC) เครื่องมือเหล่านี้ใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ของญี่ปุ่นและได้รับการขัดเกลาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ตอนนี้พวกเขาเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์ตลาด Bitcoin
Candlestick Chart
รูปแบบกราฟแท่งเทียนช่วยให้เทรดเดอร์รับรู้ถึงแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต และด้วยเหตุนี้จึงเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อขายในอนาคต ช่วยให้เข้าใจโครงสร้างตลาด ตรวจจับแนวโน้ม และระบุจุดสนใจบนแผนภูมิ รูปแบบเหล่านี้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและจุดเข้าที่ถูกต้อง ทำให้ผู้ค้าสามารถสร้างการตั้งค่าการซื้อขายที่แม่นยำ
Trend Line
เส้นแนวโน้มเชื่อมต่อจุดข้อมูลบางอย่างบนแผนภูมิเพื่อช่วยให้ผู้ค้าเห็นภาพการเคลื่อนไหวของราคา ช่วยระบุแนวโน้มโดยรวมและโครงสร้างตลาด ผู้ค้าบางรายยังใช้พวกเขาเพื่อสร้างแนวคิดการค้าที่ดำเนินการตามปฏิสัมพันธ์ของเส้นแนวโน้มกับราคา
แนวรับ (Support) และ แนวต้าน (Resistance)
แนวรับและแนวต้านคือพื้นและเพดานของราคาตามลำดับ ระดับแนวรับคือจุดที่ผู้ซื้อดันราคาขึ้น ในขณะที่ระดับแนวต้านคือจุดที่ผู้ขายกดราคาลง องค์ประกอบอื่นๆ เช่น ตัวบ่งชี้ทางเทคนิคหรือแม้แต่แง่มุมทางจิตวิทยา ยังสามารถแนะนำระดับแนวรับและแนวต้านที่อาจเกิดขึ้นได้ และองค์ประกอบเหล่านี้จะรวมอยู่ในกลยุทธ์การซื้อขายแต่ละแบบแตกต่างกันไป
บทที่ 5 - เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis Indicators)
Table of Content
อะไรคือเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค
Leading vs Lagging indicators
Momentum indicator
trading volume?
Relative Strength Index (RSI)?
Moving Average (MA)?
Moving Average Convergence Divergence (MACD)?
Fibonacci Retracement ?
Stochastic RSI (StochRSI)?
Bollinger Bands (BB)?
Volume-Weighted Average Price (VWAP)?
Parabolic SAR?
Ichimoku Cloud?
Technical Analysis Indicators คืออะไร ?
พูดง่ายๆ ก็คือการคำนวณทางคณิตศาสตร์โดยใช้ข้อมูลประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ข้อมูลอาจเป็นราคา, ปริมาณการซื้อขาย, สถานะคงค้าง (Open Interest : OI) หรือข้อมูลอื่นๆ นักวิเคราะห์ทางเทคนิคอาศัยหลักการที่ว่าพฤติกรรมของราคาในอดีตสามารถทำนายการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้
เช่นเดียวกับในป่าเวทมนตร์ที่เราอาจจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตตามความสามารถของพวกมัน เราสามารถจัดเรียง Technical Analysis Indicators ได้เช่นกัน พวกมันสามารถทำนายแนวโน้มในอนาคต (Leadding Indicator) ยืนยันรูปแบบของราคาที่กำลังเป็นอยู่ (Lagging indicator) หรือบอกสภาวะตลาดในปัจจุบัน (coincident indicators) อินดิเคเตอร์บางตัวแสดงข้อมูลซ้อนทับกับราคา ส่วนบางตัวจะแกว่งไปมาระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด จากนั้นมีอินดิเคเตอร์ที่เน้นการวัดลักษณะเฉพาะของตลาด เช่น Momentum indicator
แล้วมันมียาวิเศษหรืออินดิเคเตอร์ตัวไหนที่ดีที่สุดหรือไม่? น่าเสียดายที่ไม่มีคำตอบที่เหมาะสำหรับทุกคน นักลงทุนแต่ละคนก็ต้องการอินดิเคเตอร์ที่แตกต่างกันออกไปตามกลยุทธ์ของตัวเอง ในการจะเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม คุณต้องเข้าใจเครื่องมือเหล่านี้ก่อน
Leading vs. Lagging Indicators
Leading indicators และ Lagging Inidicators มีพลังพิเศษที่แตกต่างกัน และใช้ในสถานการณ์เฉพาะ เช่นเดียวกับหมอดู Leading Indicators ใช้ทำนายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ส่วน Lagging Indicators ใช้ยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว
Leading Indicators นั้นเหมาะสำหรับการวิเคราะห์ในระยะสั้นถึงระยะกลาง นักลงทุนมักใช้ข้อมูลเหล่านี้คาดเดาแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคต อินดิเคเตอร์เหล่านี้สามารถบ่งบอกได้ถึงสภาวะเศรษฐกิจเฟื่องฟูหรือถดถอย อย่างไรก็ตาม จำเอาไว้ว่าไม่มีอินดิเคเตอร์ใดที่เป็นเหมือนลูกแก้ววิเศษ ดังนั้นการคาดเดาอาจไม่ถูกต้อง 100%
Lagging indicators ใช้เพื่อยืนยันแนวโน้มหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วหรือกำลังดำเนินอยู่ แม้ว่าอาจจะเหมือนการใช้เครื่องมือมาวิเคราะห์ซ้ำ แต่ก็เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันได้ถึงสภาวะตลาดในตอนนั้นได้เช่นกัน
Momentum Inidicator
อินดิเคเตอร์แบบนี้เป็นเหมือนมาตรวัดความเร็ว วัดจังหวะราคาที่เปลี่ยนแปลงไป นักลงทุนใช้มันเพื่อทำกำไรจากความผันผวนในระยะสั้น นักลงทุนสายนี้จะเข้าซื้อขายเมื่อโมเมนตัมเริ่มสูง และออกมาพักนั่งดูเมื่อมันเริ่มต่ำลง และพวกเขาจะได้กำไรมากเมื่อราคาทะลุออกจากกรอบที่กำหนดไว้
ปริมาณการซื้อขาย (Trading Volume)
การพิจารณาปริมาณการซื้อขายเป็นหัวใจของตลาด ซึ่งสะท้อนถึงจำนวนสินทรัพย์ที่ซื้อขายในช่วงเวลานั้น คำพูดที่ว่า "ปริมาณการซื้อขายมาก่อนราคา" แสดงให้เห็นว่าปริมาณการซื้อขายที่มีนัยสำคัญ มักจะบ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวของราคาครั้งใหญ่ โดยการใช้ปริมาณการซื้อขาย นักลงทุนสามารถประเมินความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้คร่าวๆ และสามารถระบุจุดเข้าออก รวมไปถึงแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งได้
Relative Strength Index (RSI)
RSI เป็นเหมือนเทอร์โมมิเตอร์ที่บอกคุณว่าสินทรัพย์มีการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold) มันเป็นอินดิเคเตอร์แบบ Momentum Oscillator ที่วัดความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคา แต่ในสภาวะตลาดที่รุนแรง RSI อาจทำให้เข้าใจผิดได้ในบางครั้ง แต่โดยทั่วไปแล้ว ค่า RSI สามารถบอกเป็นนัยถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้
Moving Average (MA)
เส้น Moving Average หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นเหมือนตัวกรองที่ทำให้การเคลื่อนไหวของราคาราบรื่นขึ้นเพื่อให้มองเห็นแนวโน้มได้ง่ายขึ้น มีสองประเภทหลัก: Simple Moving Average (SMA) และ Exponential Moving Average (EMA) SMA คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลราคาในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะที่ EMA จะให้น้ำหนักกับข้อมูลราคาล่าสุดมากกว่า พวกเขาเป็นหนึ่งใน Lagging Indicators
Moving Average Convergence Divergence (MACD)
MACD เป็นเหมือนตัวตรวจจับโมเมนตัม ทำตัวเหมือนเต่ากับกระต่ายในสนามแข่ง มันประกอบด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองเส้น เส้น MACD (กระต่าย) ถูกสร้างขึ้นด้วยการลบเส้น 26EMA ออกจาก 12EMA ส่วนเส้นสัญญาณ (เต่า) คือเส้น 9EMA เมื่อเส้น MACD ตัดเส้นสัญญาณขึ้น มักถูกมองว่าเป็นสัญญาณของตลาดขาขึ้น และถ้าเส้น MACD ตัดเส้นสัญญาณลง ก็อาจหมายถึงสัญญาณของตลาดขาลง
Fibonacci Retracement
ชุดตัวเลขนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย Leondar Fibonacci นักคณิตศาสตร์ช่างอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 13 ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Fibonacci Sequence โดยมันกลายเป็นเครื่องมือยอดนิยมสำหรับนักลงทุน Fibonacci Retracement ใช้อัตราส่วน Fibonacci เป็นเปอร์เซ็นต์ ช่วยให้ระบุช่วงราคาที่เป็นไปได้ของแนวรับและแนวต้าน
อัตราส่วนเหล่านี้แบ่งออกเป็นเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน: 0%, 23.6%, 38.2%, 61.8%, 78.6% และ 100% และนักลงทุนบางคนก็มักจะเพิ่มเลข 50% เข้าไปด้วย ถึงแม้มันจะไม่ใช่อัตราส่วนฟิโบนัชชีก็ตาม ซึ่งใช้งานได้ด้วยการนำค่า 0% และ 100% ไปไว้ยังระดับราคาที่ต้องการ นักลงทุนสามารถใช้ดูจุดเข้า จุดออก และจุด Stop Loss ที่อาจเกิดขึ้นได้ Fibonacci Retracement อาจดูซับซ้อน แต่ถ้าใช้เป็น อาจกลายเป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนเกมในโลกของการลงทุนของคุณ
Stochastic RSI (StochRSI)
Stochastic RSI หรือ StochRSI ช่วยตรวจหาสินทรัพย์ที่มีการซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป stochRSI ไม่ได้ใช้ข้อมูลราคาในการสร้างขึ้น แต่ใช้ค่า RSI ระหว่าง 0 ถึง 1 (หรือบางครั้งก็ 0 ถึง 100)
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ว่า StochRSI เป็นเครื่องมือที่มีความไวสูง ทำให้อาจส่งสัญญาณหลอกได้ในบางครั้ง ซึ่งตีความได้ยาก อย่างไรก็ตาม StochRSI นำเสนอข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับเงื่อนไขการซื้อขาย โดยค่าที่มากกว่า 0.8 บ่งชี้ถึงสภาวะการซื้อมากเกินไป และต่ำกว่า 0.2 บ่งชี้ถึงเงื่อนไขการขายมากเกินไป
Bollinger Bands (BB)
Bollinger Bands เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมที่ช่วยให้นักลงทุนตรวจจับสภาวะการซื้อมากเกินไปและการขายมากเกินไปโดยการวัดความผันผวนของตลาด มันประกอบด้วยเส้นสามเส้นหรือ Bands โดย SMA คือเส้นตรงกลาง และเส้นบน และเส้นล่าง โดยในกรอบเส้นบนและเส้นล่าง แสดงถึงช่วงความผันผวนของราคา
เมื่อราคาเคลื่อนตัวเข้าใกล้เส้นบน หมายถึงสินทรัพย์อาจเข้าใกล้ภาวะซื้อมากเกินไป และเมื่ออยู่ใกล้เส้นล่าง ก็หมายถึงการขายที่มากเกินไป แต่ในบางครั้ง ราคาก็อาจทะลุเส้นพวกนี้ก็ได้ BB ไม่ใช่เครื่องมือบอกสัญญาณที่ชัดเจนในการซื้อขาย มันแค่กำลังบอกเราถึงสภาวะตลาดในตอนนั้น และเมื่อ Bollinger Bands บีบตัวแคบลงเรื่อยๆ อาจหมายถึงช่วงเวลาแห่งความผันผวนที่กำลังจะมาถึง
Volume-Weighted Average Price (VWAP)
VWAP เป็นตัวบ่งชี้ที่จับคู่ปริมาณการซื้อขายกับการเคลื่อนไหวของราคา โดยให้ราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนด แล้วถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการซื้อขาย ทำให้นักลงทุนที่ใช้มัน สามารถดูแนวโน้มของตลาดได้ หากราคาอยู่เหนือเส้น VWAP มันอาจจะเป็นขาขึ้น ในขณะที่ราคาที่อยู่ต่ำกว่าเส้นนั้นอาจบ่งบอกถึงภาวะขาลง นอกจากนี้ นักลงทุนอาจใช้ VWAP ในการระบุช่วงเวลาที่มีสภาพคล่องสูงได้อีกด้วย
Parabolic SAR
Parabolic SAR โดย SAR ในที่นี้ย่อมาจาก Stop and Reserve เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการระบุแนวโน้มของตลาดและการกลับตัวของราคา จะแสดงเป็นจุดๆ บนกราฟ จุดที่ด้านล่างของราคาหมายถึงแนวโน้มขาขึ้น ส่วนจุดด้านบนบอกเป็นนัยถึงขาลง Parabolic SAR มีประโยชน์อย่างยิ่งในช่วงที่ตลาดมีแนวโน้มแข็งแกร่ง แต่ก็อาจให้สัญญาณที่ผิดพลาดได้ในช่วง Sideway
Ichimoku Cloud
Ichimoku Cloud อินดิเคเตอร์ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโมเมนตัมของตลาด แนวรับและแนวต้าน และทิศทางของแนวโน้ม โดยจะคำนวณค่าเฉลี่ย 5 เส้น ก่อตัวเป็นกลุ่มเมฆที่คาดเดาแนวรับแนวต้านที่อาจเกิดขึ้นได้ หากราคาอยู่เหนือเมฆ อาจหมายถึงแนวโน้มขาขึ้น และหากราคาอยู่ใต้เมฆ อาจหมายถึงแนวโน้มขาลง
บทที่ 6 - เคล็ดลับการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency Trading Tips)
Table of Content
จะเริ่มต้นลงทุนในคริปโตได้อย่างไร ?
รู้จักจดบันทึกการลงทุน
คำนวณ Position Size
แนะนำ Trading Software
เราควรเสียเงินเข้ากลุ่ม Signal ไหมนะ ?
Pump & Dump อันตรายที่ควรรู้จัก
ล่า Airdrop ด้วยดีไหมนะ ?
จะเริ่มต้นลงทุนในคริปโตได้อย่างไร ?
ก่อนอื่น การลงทุนไม่ใช่การเดินในเล่นสวนสาธารณะ แต่มันคือการเดินข้ามแม่น้ำที่เต็มไปด้วยจระเข้ที่ดุร้ายและหิวโหย ผู้เริ่มต้นส่วนใหญ่มักจะเสียเงินหรือขาดทุน ดังนั้น จำเอาไว้ว่า ลงทุนเฉพาะเงินที่คุณสามารถจะเสียได้ การขาดทุนต้องไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากเกินไปนัก เพราะการลงทุนนั้นคาดเดาไม่ได้ และคุณควรเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
ในโลกของการลงทุนมีเส้นทางให้เลือกเดินมากมาย ดังนั้นคุณควรมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง เลือกกลยุทธ์อย่างรอบคอบและชาญฉลาด โดยคำนึงถึงเป้าหมายและไลฟ์สไตล์ของคุณ
สุดท้าย จำเอาไว้ว่า นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ ไม่ใช่นักลงทุนเต็มเวลา พวกเขามีแหล่งรายได้หลัก และการลงทุนเป็นเพียงสิ่งที่พวกเขาทำเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น สิ่งนี้ทำให้เราลงทุนด้วยอารมณ์น้อยลงและรับความเสี่ยงได้มากขึ้น ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นลงทุน ให้พิจารณาด้วยเงินทุนก้อนเล็กๆ ก่อนเพื่อทำการเรียนรู้และฝึกฝน
รู้จักจดบันทึกการลงทุน
บันทึกการลงทุนก็เหมือนกับการเขียนไดอารี่ เป็นที่ที่คุณบันทึกกิจกรรมการลงทุนทั้งหมดของคุณ ถ้าถามว่าคุณควรมีมันหรือไม่ ? ก็ต้องตอบเลยว่าแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการลงทุน Trading Journal อาจมีความสำคัญในการติดตามประสิทธิภาพของคุณ ระบุจุดแข็ง จุดอ่อน และช่วยลดอคติ การจัดบันทึกไว้จะช่วยให้คุณปรับแต่งกลยุทธ์และปรับปรุงมันได้
คำนวณ Position Size
ในโลกของการลงทุน การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องใหญ่ การคำนวณ Position Size ของคุณเลยเป็นสิ่งสำคัญ
วิธีง่ายๆ คือ ขั้นแรก ตัดสินใจว่าคุณสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใดต่อการเทรด สมมุติว่า 1% ซึ่งหมายความว่าหากถึงจุด Stop-Loss คุณจะไม่เสียเงินมากกว่า 1% ของเงินทุนที่มีทั้งหมด
นี้อาจจะดูเหมือนน้อย แต่กลยุทธ์นี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการเทรดที่ไม่ดีเพียงไม่กี่ครั้งจะไม่ทำลายพอร์ตการลงทุนของคุณ แต่จุด Stop-Loss ของแต่ละการเทรดอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ สมมุติว่าในการซื้อขายแต่ละครั้ง คุณตั้งจุด Stop-Loss ไว้ 5% และคุณไม่ต้องการให้การเทรดแต่ละครั้ง เสียหายเกินกว่า 1% ของพอร์ต
ลองมาดูตัวอย่างนี้ ให้คุณมีเงินในพอร์ต 1,000 ดอลลาร์ และคุณรับความเสี่ยงได้ 1% และตั้ง Stop-loss ไว้ที่ 5% ดังนั้น Position Size ของคุณควรจะเป็น
1,000 x 0.01/0.05 = 200 ดอลลาร์
แนะนำ Trading Software
การวิเคราะห์กราฟเป็นส่วนสำคัญของการเทรดและการลงทุน กระดานเทรดหลายแห่งได้รวมกราฟจาก Tradingview เข้าไว้ด้วยกัน ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ได้โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกเช่น Coinigy, TradingLite, Exocharts และ Tensorcharts
เราควรเสียเงินเข้ากลุ่ม Signal ไหมนะ ?
จริงๆ การจ่ายเงินเพื่อเข้ากลุ่มสามารถเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ได้ แต่ระมัดระวังกลุ่มที่หลอกลวงเอาไว้ด้วย และข้อมูลฟรีๆ นั้นมีอยู่มากมายบนโลกอินเทอร์เน็ต เราสามารถหาความรู้ได้เองจากข้อมูลพวกนี้ และยังเป็นที่น่าสังเกตว่า บรรดานักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก มักจะไม่คิดค่าใช้จ่ายในการแบ่งปันความรู้
Pump & Dump อันตรายที่ควรรู้จัก
การ Pump & Dump คือเมื่อราคาสินทรัพย์พุ่งไปสูงเกินจริงด้วยข้อมูลผิดๆ และเมื่อราคาสูงขึ้น ผู้ที่ปล่อยข่าวผิดๆ จะสามารถขายสินทรัพย์ของตนในราคาที่สูงขึ้นได้ นั้นหมายถึงกำไรที่มากกว่าเดิม เป็นเรื่องปกติในตลาดคริปโต และมักมีเป้าหมายเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเห็นในเหรียญที่มีสภาพคล่องต่ำ
ล่า Airdrop ด้วยดีไหมนะ ?
Airdrop เป็นวิธีการแจกจ่ายโทเคนให้กับคนจำนวนมาก เป็นวิธีที่ทำให้มั่นใจได้ว่าคริปโตจะเป็นแบบ Decentralized และไม่ตกไปอยู่ในมือของนักลงทุนไม่กี่คน แต่ระวัง แม้ว่า Airdrop อาจจะดูเหมือนการแจกเงินฟรี แต่โปรเจกต์มักจะต้องการสิ่งตอบแทนจากเรา เช่นข้อมูลส่วนบุคคล หรือการเข้าไปใช้งานแพลตฟอร์ม (ที่อาจจะเป็น Scam ก็ได้) ดังนั้น ศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนการสมัครด้วยนะ
การก้าวเข้าสู่โลกแห่งการลงทุนคริปโตอาจจะมีข้อมูลที่ดูเยอะไปสักหน่อย แต่หวังว่าคู่มือนี้จะทำให้มันดูน่ากลัวน้อยลง จำไว้ว่ายังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมาก
.
ติดตามข้อมูลสาระน่ารู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีได้ที่นี่ และดาวน์โหลด Binance TH by Gulf Binance ได้ที่ https://bit.ly/try-BinanceTH
คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้