การวิเคราะห์ทางเทคนิคคืออะไร

2024-01-22

การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis หรือ TA) ซึ่งมักเรียกว่าสร้างแผนภูมิ เป็นการวิเคราะห์ประเภทหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อคาดการณ์พฤติกรรมของตลาดในอนาคตโดยพิจารณาจาก Price Action และข้อมูลปริมาณก่อนหน้านี้ ในตลาดการเงินแบบดั้งเดิมมีการใช้ TA อย่างกว้างขวางกับหุ้นและสินทรัพย์อื่นๆ และยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเทรดสกุลเงินดิจิทัลในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี

TA มีแนวทางตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis หรือ FA) ที่จะพิจารณาหลายๆ ปัจจัยเกี่ยวกับราคาของสินทรัพย์ โดย TA จะให้ความสำคัญกับ Price Action ในอดีตอย่างละเอียด ดังนั้นจึงใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบความผันผวนของราคาและข้อมูลปริมาณของสินทรัพย์ และนักเทรดจำนวนมากจะใช้ข้อมูลนี้เพื่อระบุแนวโน้มและโอกาสในการเทรดที่น่าพึงพอใจ

แม้ว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคในรูปแบบดั้งเดิมจะปรากฏขึ้นในอัมสเตอร์ดัมในศตวรรษที่ 17 และญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 18 แต่สำหรับ TA สมัยใหม่ เราสามารถสืบย้อนกลับไปได้ว่าเป็นผลงานของ Charles Dow Dow เป็นนักข่าวการเงินและผู้ก่อตั้ง The Wall Street Journal เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกๆ ที่สังเกตว่าสินทรัพย์และตลาดแต่ละรายการมักจะเคลื่อนไหวตามแนวโน้มที่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนและตรวจสอบได้ ต่อมาผลงานของเขาทำให้เกิดทฤษฎี Dow ที่สนับสนุนการพัฒนาเพิ่มเติมด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ในช่วงแรก แนวทางการวิเคราะห์ทางเทคนิคขั้นพื้นฐานจะใช้แผ่นชีทแบบจดด้วยมือและการคำนวณด้วยตนเอง แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ TA จึงแพร่หลายและปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักลงทุนและนักเทรดจำนวนมาก

การวิเคราะห์ทางเทคนิคมีลักษณะอย่างไร

ตามที่ได้กล่าวไป TA เป็นการศึกษาราคาของสินทรัพย์ทั้งในปัจจุบันและก่อนหน้า สมมติฐานหลักในการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือ ความผันผวนของราคาสินทรัพย์ไม่ได้เกิดขึ้นแบบสุ่ม และโดยทั่วไปจะพัฒนาเป็นแนวโน้มที่สามารถระบุได้เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง

โดยหลักแล้ว TA คือการวิเคราะห์แรงอุปสงค์และอุปทานของตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเชื่อมั่นในภาพรวมของตลาด กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ราคาของสินทรัพย์จะสะท้อนถึงแรงขายและแรงซื้อขั้วตรงข้าม และแรงเหล่านี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอารมณ์ของนักเทรดและนักลงทุน (โดยพื้นฐานแล้วคือความกลัวและความโลภ) 

ที่น่าสังเกตคือ TA ถือว่ามีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพมากกว่าในตลาดที่ดำเนินการภายใต้สภาวะปกติ โดยมีปริมาณและสภาพคล่องสูง ตลาดที่มีปริมาณสูงมีความอ่อนไหวต่อการควบคุมราคาและอิทธิพลภายนอกที่ผิดปกติน้อยกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิดสัญญาณที่ผิดพลาดและทำให้ TA ไร้ประโยชน์

เพื่อตรวจสอบราคาและมองหาโอกาสที่ดีให้ได้ นักเทรดจะใช้เครื่องมือสร้างแผนภูมิหลากหลายประเภทที่เรียกว่าตัวชี้วัด ตัวชี้วัดการวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยให้นักเทรดระบุแนวโน้มที่มีได้ และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากตัวชี้วัด TA อาจผิดพลาดได้ นักเทรดบางรายจึงใช้ตัวบ่งชี้หลายตัวร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยง

ตัวชี้วัด TA ทั่วไป

โดยทั่วไปแล้ว นักเทรดที่ใช้ TA จะใช้ตัวชี้วัดและเมตริกที่แตกต่างกันหลากหลายประเภทเพื่อพิจารณาแนวโน้มของตลาด โดยอิงจากแผนภูมิและ Price Action ในอดีต ในบรรดาตัวชี้วัดการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีอยู่มากมาย ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average หรือ SMA) เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ใช้มากที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุด ตามชื่อ SMA จะคำนวณตามราคาปิดของสินทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (Exponential Moving Average หรือ EMA) เป็น SMA เวอร์ชันที่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งให้น้ำหนักราคาปิดล่าสุดมากกว่าหลักเกณฑ์เดิม

ตัวชี้วัดที่ใช้กันทั่วไปอีกตัวหนึ่งคือดัชนีความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ (Relative Strength Index หรือ RSI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดที่เรียกว่า Oscillator ซึ่งต่างจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ธรรมดาที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาเมื่อเวลาผ่านไป Oscillator จะใช้สูตรทางคณิตศาสตร์กับข้อมูลราคา จากนั้นจึงสร้างค่าที่อยู่ในช่วงที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ในกรณีของ RSI ช่วงนี้จะกว้างตั้งแต่ 0 ถึง 100

ตัวชี้วัด Bollinger Bands (BB) เป็น Oscillator อีกประเภทหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความนิยมจากนักเทรด ตัวชี้วัด BB ประกอบด้วยแถบด้านข้างสองแถบที่ทอดตัวไปตามเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งใช้ระบุสภาวะตลาดที่มีภาวะ Overbought (การซื้อมากเกินไป) และภาวะ Oversold (การขายมากเกินไป) รวมถึงเพื่อวัดความผันผวนของตลาด

นอกจากเครื่องมือ TA ที่แสนพื้นฐานและเรียบง่ายแล้ว ยังมีตัวชี้วัดบางส่วนที่ต้องอาศัยตัวชี้วัดอื่นเพื่อสร้างข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น Stochastic RSI คำนวณโดยใช้สูตรทางคณิตศาสตร์กับ RSI ปกติ อีกตัวอย่างของตัวชี้วัดที่ได้รับความนิยมคือการบรรจบกันและการแยกออกจากกันของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Convergence Divergence หรือ MACD) MACD สร้างขึ้นโดยการลบ EMA สองเส้นออกเพื่อสร้างเส้นหลัก (เส้น MACD) จากนั้นจะใช้เส้นแรกเพื่อสร้าง EMA อื่นจนเกิดเป็นเส้นที่สอง (เรียกว่าเส้นสัญญาณ) นอกจากนี้ยังมีฮิสโตแกรม MACD ซึ่งคำนวณโดยใช้ความแตกต่างระหว่างสองเส้นนั้น

สัญญาณการเทรด

แม้ว่าตัวชี้วัดจะมีประโยชน์ในการระบุแนวโน้มทั่วไป แต่ก็อาจใช้เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจุดเข้าและออกที่เป็นไปได้ได้ด้วย (สัญญาณซื้อหรือขาย) สัญญาณเหล่านี้อาจสร้างขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะเกิดขึ้นในชาร์ตของตัวชี้วัด ตัวอย่างเช่น เมื่อ RSI อ่านค่าได้ตั้งแต่ 70 ขึ้นไป อาจบอกได้ว่าตลาดกำลังดำเนินการภายใต้ภาวะ Overbought ตรรกะเดียวกันนี้มีผลเมื่อ RSI ลดลงเหลือ 30 หรือน้อยกว่า ซึ่งโดยทั่วไปมองว่าเป็นสัญญาณของสภาวะตลาดที่มีภาวะ Oversold

ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ สัญญาณการเทรดที่ได้จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจไม่แม่นยำเสมอไป และยังมีสัญญาณรบกวน (สัญญาณเท็จ) จำนวนมากที่เกิดจากตัวบ่งชี้ TA ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวลโดยเฉพาะในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าตลาดแบบดั้งเดิมและมีความผันผวนมากกว่า

คำวิจารณ์

แม้ว่าจะมีการใช้ TA อย่างกว้างขวางในแทบทุกตลาด แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายมองว่า TA เป็นวิธีที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งและไม่น่าเชื่อถือ และมักเรียกกันว่าเป็น "ปรากฎการณ์ความคาดหวังสร้างความจริง" คำดังกล่าวใช้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเพราะคนจำนวนมากสันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้น

นักวิจารณ์แย้งว่าในบริบทของตลาดการเงิน หากนักเทรดและนักลงทุนจำนวนมากใช้ตัวชี้วัดประเภทเดียวกัน เช่น เส้นแนวรับหรือแนวต้าน โอกาสที่ตัวชี้วัดเหล่านี้จะได้ผลดีก็จะเพิ่มขึ้น 

ในทางกลับกัน ผู้สนับสนุนการใช้ TA หลายคนแย้งว่านักสร้างแผนภูมิแต่ละคนมีวิธีการวิเคราะห์แผนภูมิและใช้ตัวชี้วัดต่างๆ ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งหมายความว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่นักเทรดจำนวนมากจะใช้กลยุทธ์เดียวกัน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis - FA) เทียบกับ การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis - TA)

หลักการสำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือ Market Price สะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์นั้นๆ อยู่แล้ว แต่ในทางตรงกันข้าม แนวทาง TA มุ่งเน้นไปที่ข้อมูลราคาและปริมาณในอดีตเป็นหลัก (แผนภูมิตลาด) การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FA) ใช้กลยุทธ์การตรวจสอบที่กว้างกว่า ซึ่งให้ความสำคัญกับปัจจัยเชิงคุณภาพมากกว่า

การวิเคราะห์พื้นฐานพิจารณาว่าประสิทธิภาพในอนาคตของสินทรัพย์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่เพียงข้อมูลในอดีตเท่านั้น แต่โดยพื้นฐานแล้ว FA เป็นวิธีการที่ใช้ในการประมาณมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท ธุรกิจ หรือสินทรัพย์ โดยพิจารณาจากสภาวะเศรษฐกิจระดับจุลภาคและมหภาคหลากหลายแง่มุม เช่น การบริหารและชื่อเสียงของบริษัท การแข่งขันในตลาด อัตราการเติบโต และสภาพของอุตสาหกรรม

ดังนั้น เราอาจพิจารณาว่า FA แตกต่างจาก TA ที่ใช้เป็นเครื่องมือคาดการณ์ Price Action และพฤติกรรมของตลาดเป็นหลัก เพราะ FA เป็นวิธีพิจารณาว่าสินทรัพย์มีมูลค่าสูงเกินไปหรือไม่ตามบริบทและศักยภาพ แม้ว่านักเทรดระยะสั้นส่วนใหญ่จะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค แต่ก็มีแนวโน้มที่ผู้จัดการกองทุนและนักลงทุนระยะยาวจะใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเช่นกัน

ข้อได้เปรียบที่โดดเด่นประการหนึ่งของการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็คือการวิเคราะห์ทางเทคนิคอาศัยข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นแนวทางตรวจสอบประวัติราคาอย่างเป็นกลาง โดยลดการคาดเดาบางส่วนที่มาพร้อมกับแนวทางในเชิงคุณภาพของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

อย่างไรก็ตาม แม้จะต้องจัดการกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แต่ TA ก็ยังคงได้รับอิทธิพลจากอคติและความรู้สึกส่วนตัว ยกตัวอย่างเช่น นักเทรดที่มีอคติจะมองหาข้อสรุปบางอย่างเกี่ยวกับสินทรัพย์อาจปรับเครื่องมือ TA เพื่อสนับสนุนความเชื่อของตนเอง โดยที่หลายกรณีเหล่านี้พวกเขาเองก็ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีในช่วงที่ตลาดไม่มีรูปแบบหรือแนวโน้มที่ชัดเจน

ข้อคิดส่งท้าย

นอกจากการวิจารณ์และการถกเถียงที่มีมาอย่างยาวนานว่าวิธีใดให้ผลดีกว่าแล้ว การใช้ทั้ง TA และ FA ผสมกันก็ถือเป็นทางเลือกที่สมเหตุผลมากกว่า แม้ว่า FA มักจะเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การลงทุนระยะยาว และ TA อาจให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาวะตลาดระยะสั้น ทั้งสองส่วนนี้อาจมีประโยชน์ต่อทั้งนักเทรดและนักลงทุน (เช่น เมื่อพยายามกำหนดจุดเข้าและออกที่เหมาะสม)