นโยบายการจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Making Policy)

1. วัตถุประสงค์
บริษัทฯ ในฐานะศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งมีความประสงค์ที่จะจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง ต้องกำหนดกฎเกณฑ์และหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือก ขอบเขตหน้าที่ ตลอดจนการกำกับดูแลการปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ดูแลสภาพคล่องจะมีคุณสมบัติเหมาะสมและสามารถปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ก่อให้เกิด ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยในการซื้อขาย สร้างมูลค่าการซื้อขายเทียม หรือเป็นช่องทางให้ผู้ดูแล สภาพคล่องเอาเปรียบผู้ลงทุนรายอื่น โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2. กระบวนการอนุมัติหลักเกณฑ์
บริษัทฯ กำหนดให้ฝ่ายปฏิบัติการ โดยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ เป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่อง และให้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการมีหน้าที่นำเสนอหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อพิจารณา ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทำการอนุมัติหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่องดังกล่าว ภายหลังจากได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท บริษัทฯ จะนำส่งหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่องต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
3. หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่อง: Market Maker
บริษัทฯ กำหนดให้ฝ่ายปฏิบัติการ โดยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่อง รวมถึงทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ดูแลสภาพคล่องให้เป็นไปตามเงื่อนไขเพื่อเสนอให้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งและเข้าทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ดูแลสภาพคล่องดังกล่าว ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่อง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
หมายเหตุ อย่างไรก็ดี หากผู้ดูแลสภาพคล่องเป็นผู้มีใบอนุญาตในการทำหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่องที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือ บริษัทฯ อาจใช้หลักเกณฑ์ของการออกใบอนุญาตดังกล่าวในการพิจารณา เพื่อทดแทนคุณสมบัติ เรื่องประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ, เรื่องแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง, หรือเรื่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการปฏิบัติงานได้ แล้วแต่กรณีได้
4. ขั้นตอนการคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่อง
1. บุคคลที่สนใจจะสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องให้แก่บริษัทฯ สามารถทำการสมัครได้ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท (ได้แก่ www.binance.th) หรืออีเมลของบริษัทที่กำหนดขึ้นสำหรับการสมัครเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องโดยเฉพาะ (ได้แก่ marketmaker@binance.th) โดยมีวิธีการดังนี้
(ก) กรณีเว็บไซต์ บริษัทฯ จะกำหนดให้บุคคลที่สนใจกรอกหรืออัปโหลดไฟล์เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตนเอง, ประสบการณ์การทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง รวมถึงเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลอ้างอิงอื่น เพื่อให้บริษัทพิจารณาเบื้องต้น หรือ
(ข) กรณีอีเมล บริษัทฯ จะกำหนดให้บุคคลที่สนใจส่งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตนเอง, ประสบการณ์การทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง รวมถึงเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลอ้างอิงอื่น เพื่อให้บริษัทพิจารณาเบื้องต้น
2. เจ้าหน้าที่แผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายจะเป็นผู้ได้รับข้อมูลการสมัครดังกล่าว เพื่อพิจารณาเบื้องต้นตามข้อมูลที่ได้รับโดยให้น้ำหนักกับความน่าเชื่อถือและประสบการณ์ที่ผ่านมา ก่อนนำส่งให้หัวหน้าแผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายพิจารณาว่าเห็นควรให้ติดต่อบุคคลดังกล่าว เพื่อขอข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมหรือไม่ (โดยพิจารณาจากประสบการณ์การทำหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่องเป็นหลัก)
3. หากหัวหน้าแผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายเห็นควรให้ติดต่อบุคคลดังกล่าว เพื่อขอข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติม ให้เจ้าหน้าที่แผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายดำเนินการติดต่อบุคคลดังกล่าว พร้อมขอข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่องข้างต้น
4. ให้เจ้าหน้าที่แผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารดังกล่าว ก่อนเสนอให้หัวหน้าแผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อนำส่งให้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการพิจารณาต่อไป
5. หากประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเห็นชอบ ก็ให้รายงานต่อไปยังคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาและอนุมัติตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ดูแลสภาพคล่องที่กำหนดไว้ข้างต้น แล้วจึงให้ฝ่ายปฏิบัติการดำเนินการเข้าทำสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลสภาพคล่องกับบุคคลดังกล่าวต่อไป
5. ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง
เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ดูแลสภาพคล่องรับทราบถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบ รวมถึงข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ของตน บริษัท โดยฝ่ายกฎหมาย กำกับดูแลการปฏิบัติงาน และบริหารจัดการความเสี่ยงกำหนดให้มีการจัดทำสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลสภาพคล่องเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใต้กรอบหลักการที่ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องไม่ส่งคำสั่งในลักษณะที่เข้าข่ายเป็นการสร้างมูลค่าการซื้อขายเทียมหรือเป็นช่องทางให้ ผู้ดูแลสภาพคล่องเอาเปรียบผู้ลงทุนรายอื่น หรือเข้าข่ายเป็นความผิดทางกฎหมายในลักษณะอื่นใด
ทั้งนี้ บริษัทกำหนดขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แลสภาพคล่องไว้ ดังนี้
ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องทำหน้าที่หลักในการส่งคำเสนอซื้อ และคำเสนอขายอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quotes) เพื่อให้มี ราคาปรากฏอยู่ในระบบศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท และ/หรือส่งเสริมให้มีสภาพคล่องในระบบการซื้อขาย ของบริษัทอยู่เสมอ โดยการส่งคำสั่งแบบ Limit Order ไม่ว่าจะเป็น Buy Order / Sell Order ไว้เพื่อให้ลูกค้ารายอื่นส่งคำสั่ง มาจับคู่ซื้อขาย (Maker) หรือเพื่อจับคู่ซื้อขายกับคำสั่งซื้อขายอื่นที่ลูกค้าเปิดไว้ในระบบที่เป็น open order อยู่ (Taker)
ทั้งนี้ ผู้ดูแลสภาพคล่องจะมีสิทธิเข้าถึงได้เฉพาะข้อมูลการซื้อขายของตนเองเท่านั้น และจะได้รับบริการในส่วนของข้อมูล และการให้บริการทั้งหมดของบริษัทเช่นเดียวกับลูกค้าทั่วไปของบริษัท เพื่อไม่ให้มีการใช้ข้อมูลภายในไม่ว่ารูปแบบใด ที่จะเป็นการได้เปรียบลูกค้าผู้อื่น (Insider Trading and Front Running) หรือการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายไม่ว่าลักษณะใด
ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องดำเนินการตามหน้าที่ของตน และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เหมาะสม สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง โดยบริษัทกำหนดให้ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามหลักเกณฑ์ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
หน้าที่ในการรักษาสมดุลของการส่งคำสั่งซื้อและขายของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสม ได้แก่
Uptime – การรักษาระดับการส่งคำสั่งซื้อและขายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
Maker/Taker – การรักษาระดับของการส่งคำสั่งไว้เพื่อให้ลูกค้ารายอื่นส่งคำสั่งมาจับคู่ซื้อขาย (Maker) และหลีกเลี่ยงการส่งคำสั่งเพื่อจับคู่ซื้อขายกับคำสั่งซื้อขายอื่นที่ลูกค้าเปิดไว้ในระบบที่เป็น open order อยู่แล้ว (Taker)
Cancel – การหลีกเลี่ยงการถอนหรือยกเลิกคำสั่งที่วางไว้โดยไม่มีเหตุผลรองรับอันสมควร เช่น การถอนหรือยกเลิกคำสั่งในสถานการณ์ตลาดปกติ เป็นต้น
2.2 หน้าที่ที่จะไม่กระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม รวมถึงห้ามกระทำการใดที่เป็นการฝ่าฝืนหลีกเลี่ยง กฎหมาย หรือข้อบังคับที่กำหนดไว้โดยบริษัท หรือหน่วยงานทางการที่กำกับดูแล (สำนักงานฯ) โดยเฉพาะผู้ดูแลสภาพคล่อง จะต้องไม่ส่งคำสั่งซื้อขายในลักษณะที่เป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคา หรือปริมาณการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือทำให้ราคาหรือปริมาณการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาด โดยเฉพาะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดและต้องไม่ทำคำสั่งหรือดำเนินการใดในลักษณะดังต่อไปนี้
ส่งคำสั่งซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรู้อยู่แล้วว่าตนเอง หรือบุคคลที่ร่วมกระทำการได้สั่งซื้อ-ขายหรือจะสั่งซื้อ-ขาย สินทรัพย์ ดิจิทัลเดียวกัน ในจำนวนใกล้เคียงกัน ราคาใกล้เคียงกัน และภายในเวลาใกล้เคียงกัน
ส่ง แก้ไข หรือยกเลิกคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการซื้อหรือขาย สินทรัพย์ดิจิทัลของบุคคลอื่น ซึ่งมีผลทำให้บุคคลอื่นต้องส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลในราคาที่สูง หรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ส่ง แก้ไข หรือยกเลิกคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเข้าไปในระบบซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท โดยรู้หรือควรรู้ว่า การกระทำดังกล่าวนั้นน่าจะทำให้ราคาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือปริมาณการซื้อหรือขาย สินทรัพย์ดิจิทัล ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด และเป็นเหตุให้ระบบซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลล่าช้าหรือหยุดชะงัก
ทั้งนี้ บริษัทกำหนดให้ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องทำคำสั่งทั้งหมดผ่านบัญชีการซื้อขายที่ได้รับการลงทะเบียนและบันทึกในระบบเป็นการเฉพาะว่าเป็นบัญชีของผู้ดูแลสภาพคล่องเท่านั้น และไม่สามารถเปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ตนเองกับบริษัทได้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง
6. แนวทางและวิธีการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง
1. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1.1 แผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขาย อยู่ภายใต้ฝ่ายปฏิบัติการและมีประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาสมดุลของการส่งคำสั่งซื้อและขายของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสมตามที่กำหนดในข้อ 2.1 ของเนื้อหาเรื่องขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องของเอกสารฉบับนี้ รวมถึงให้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ดูแลสภาพคล่องเป็นรายเดือน โดยให้ทำการประเมินจากแนวทางและวิธีการตรวจสอบที่กำหนดในเอกสารนี้
1.2 แผนกตรวจสอบสภาพตลาด อยู่ภายใต้ฝ่ายปฏิบัติการและมีประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด ทำหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายของผู้ดูแลสภาพคล่องที่อาจเข้าข่ายเป็นการส่งคำสั่งในลักษณะที่เป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือเป็นการทำให้ราคาหรือปริมาณการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาด ตามที่กำหนดในข้อ 2.2
1.3 แผนกกำกับดูแลการปฏิบัติงาน อยู่ภายใต้ฝ่ายกฎหมาย กำกับดูแลการปฏิบัติการ และบริหารความเสี่ยงและมีประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย กำกับดูแลการปฏิบัติการ และบริหารความเสี่ยงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด ทำหน้าที่ในฐานะ 2nd line เพื่อตรวจสอบการการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง ว่าเป็นไปตามขอบเขตและหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ตรวจสอบการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ดูแลสภาพคล่องโดยแผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายและแผนกตรวจสอบสภาพตลาดว่าเป็นไปตามแนวทางและวิธีการกำกับดูแลที่กำหนดไว้หรือไม่
1.4 ฝ่ายตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่ในฐานะ 3rd line เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องและการกำกับดูแลโดยหน่วยงานภายใน ได้แก่ แผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขาย, แผนกตรวจสอบสภาพตลาด และแผนกกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และรายงานให้คณะกรรมการบริหารและ/หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงรับทราบต่อไป
หมายเหตุ บริษัทจะจัดทำรายชื่อและหมายเลขประจำตัวลูกค้าของผู้ดูแลสภาพคล่องแต่ละราย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลข้างต้น เพื่อให้สามารถทำการตรวจสอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม (ทั้งนี้ ในอนาคตบริษัทจะมีการพัฒนาระบบให้สามารถกำหนดสถานการณ์เป็นลูกค้า เช่น ลูกค้าปกติ หรือผู้ดูแลสภาพคล่อง เป็นต้น เพิ่มเติมต่อไป) ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายของผู้ดูแลสภาพคล่องจะนำเสนอโดยเจ้าหน้าที่แผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายและให้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการพิจารณาและอนุมัติ ก่อนทำการแก้ไขในระบบ
2. หลักการและกลไกการตรวจสอบการทำงานของผู้ดูแลสภาพคล่อง
เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ดูแลสภาพคล่องจะปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยจรรยาบรรณ จริยธรรม และเงื่อนไขที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่องให้แก่บริษัท บริษัทจึงกำหนดแนวทางการและวิธีการตรวจสอบไว้ ดังต่อไปนี้
3. ขั้นตอนการตรวจสอบ
กระบวนการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องโดยเจ้าหน้าที่แผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายหรือเจ้าหน้าที่แผนกตรวจสอบสภาพตลาด ให้เป็นไปตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้
เมื่อมีการตรวจสอบพบการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง อันเนื่องมาจากการประเมินผลหรือการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่แผนกปฏิบัติการศูนย์ซื้อขายหรือโดยเจ้าหน้าที่แผนกตรวจสอบสภาพตลาด ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดังกล่าวดำเนินการวิเคราะห์ สอบสวน และแสวงหาพยานหลักฐาน เพื่อรายงานต่อประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการให้พิจารณาและอนุมัติมาตรการจัดการต่อไป
ให้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการพิจารณาบทลงโทษที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงเจตนาและความร้ายแรงของการกระทำผิด ซึ่งบทลงโทษจะแบ่งออกเป็น (ก) การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (ข) การพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว หรือ (ค) การปลดหรือยกเลิกการเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของบริษัท และนำเสนอผลการพิจารณาดังกล่าวให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาต่อไป
ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาผลการพิจารณาที่นำเสนอโดยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ประกอบกับหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ดำเนินการตามที่เสนอ
ให้ฝ่ายปฏิบัติการดำเนินการลงโทษตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารโดยทันที เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดอื่นเพิ่มเติม และและอาจพิจารณาลงโทษหรือเรียกร้องค่าเสียหายอื่นตามที่บริษัทอาจมีสิทธิหรือหากเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย ให้แผนกกำกับดูแลการปฏิบัติงานแจ้งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. โดยไม่ชักช้า
4. การทบทวนนโยบาย
ฝ่ายปฏิบัติการ ร่วมกับฝ่ายกฎหมาย กำกับดูแลการปฏิบัติงาน และบริหารจัดการความเสี่ยงต้องร่วมกันพิจารณาทบทวนนโยบายและหลักเกณฑ์การทำหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง ตลอดจนแนวทางและวิธีการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอเป็นรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทและเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทอนุมัติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ/หรือกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนใด ๆ ที่ต้องมีการทบทวนอันเนื่องมาจากมีเหตุการณ์ผิดปกติ โดยต้องรายงานทันทีต่อคณะกรรมการบริษัทเมื่อมีการประชุม