มาตรการกำกับดูแลการส่งคำสั่งไม่เหมาะสม
บริษัทกำหนดให้มีมาตรการกำกับดูแลการส่งคำสั่งไม่เหมาะสมเพื่อให้การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปอย่างโปร่งใสและป้องกันการซื้อขายที่อาจมีผลทำให้ราคาและปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นตามสภาพปกติของตลาด รวมถึงยกระดับการกำกับดูแลการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 หมวด 6 เรื่องการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและประกาศที่ กธ. 19/2561 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ดังนั้น บริษัทจึงได้จัดทำประกาศนี้เพื่อแสดงลักษณะตัวอย่างพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายที่พิจารณาได้ว่า เป็นการส่งคำสั่งที่ไม่เหมาะสมที่นักลงทุนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายพึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว
หากบริษัทพบพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายที่อาจเข้าข่ายหรือเข้าข่ายคำสั่งไม่เหมาะสมที่แสดงถึงเจตนาที่ทำให้สภาพการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลผิดไปจากสภาพปกติ บริษัทได้กำหนดแนวทางการกำกับดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมซ้ำและให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาถึงเจตนาในการส่งคำสั่งซื้อขายและความรุนแรงของพฤติกรรม ดังนี้
ระดับที่ 1 แจ้งเตือนและกำชับให้ระมัดระวังการส่งคำสั่งที่ไม่เหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมซ้ำ
ระดับที่ 2 ตักเตือนและภาคทัณฑ์
ระดับที่ 3 ตักเตือนและระงับการซื้อขายเป็นเวลา 1 วัน
ระดับที่ 4 ตักเตือนและระงับการซื้อขายเป็นเวลา 7 วัน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวไม่รวมถึงคำสั่งที่มีผลต่อสภาพการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างรุนแรง และ/หรือ มีเจตนาในการส่งคำสั่งไม่เหมาะสมอย่างชัดแจ้ง บริษัทจะมีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการบริหารของบริษัทเป็นผู้พิจารณาผลการดำเนินการ
ทั้งนี้ มาตรการกำกับดูแลดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 14 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
ตัวอย่างพฤติกรรมการส่งคำสั่งไม่เหมาะสม
การจับคู่ซื้อขายกันเองระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคล (Wash Trade/Matched Order)
| |
| เพื่อลวงปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้บุคคลอื่นสำคัญผิดด้านราคาและ/หรือปริมาณการซื้อขาย |
| ส่งคำสั่งซื้อและขายในราคาและปริมาณซื้อขายที่อาจเกิดการจับคู่กันเองทั้งจำนวนหรือบางส่วนอย่างมีนัยสำคัญ |
ตัวอย่างลำดับเหตุการณ์การส่งคำสั่งซื้อขายที่เข้าข่ายการจับคู่ซื้อขายกันเอง
| |
| ส่งคำสั่งเสนอขายรอในราคาที่สูงกว่าราคาล่าสุดที่ราคา 36.50 บาท (Best Offer ระดับที่ 3 ณ ขณะนั้น) ซึ่งเป็นระดับราคาที่ลูกค้าต้องขายจริง |
| ส่งคำสั่งเสนอขายเพิ่มที่ช่วงราคา 35.50 – 36 บาท ด้วยปริมาณเสนอขายที่น้อยกว่า |
| ส่งคำสั่งเคาะซื้อที่ราคา 36 บาทเพื่อจับคู่กับคำสั่งขายที่ส่งมาล่าสุด เพื่อจูงใจให้นักลงทุนรายอื่นเข้าใจว่า ณ ขณะนั้นมีความต้องการซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นจนราคามีการเปลี่ยนแปลง |
| นักลงทุนรายอื่นเข้าซื้อตามและเกิดการจับคู่ซื้อขายกับคำสั่งขายที่ตั้งรอไว้ในตอนแรก |
ราคาซื้อขายล่าสุดเพิ่มขึ้นจาก 35 บาทเป็น 36 บาท
ราคาซื้อขายล่าสุดอยู่ที่ 36 บาท
การผลักดัน/ชี้นำราคา (Momentum Ignition/Price Ramp)
| |
| เพื่อชี้นำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่าราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง |
| ส่งคำสั่งเคาะซื้อหรือเคาะขายอย่างต่อเนื่องและมีผลให้ราคาเปลี่ยนแปลงไปจากราคาซื้อขายล่าสุดอย่างมีนัยสำคัญ |
ตัวอย่างลำดับเหตุการณ์การส่งคำสั่งซื้อขายที่เข้าข่ายการผลักดัน/ชี้นำราคา
| |
| ส่งคำสั่งเสนอขายรอไว้ที่ราคา 38 บาท (Best Offer ลำดับที่ 8) ซึ่งสูงกว่าราคาซื้อขายล่าสุด ณ ขณะนั้น |
| ส่งคำสั่งเคาะซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาล่าสุดด้วยปริมาณมากทำให้กวาด Offer หลายช่วงราคา เช่น กวาด Offer ที่ช่วงราคา 34.50 – 36 บาท ซึ่งเป็น Best Offer 4 ลำดับแรก มีผลทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น |
| นักลงทุนรายอื่นส่งคำสั่งซื้อตาม เนื่องจากเข้าใจว่ามีความต้องการซื้อมากและราคากำลังปรับตัวเพิ่มขึ้น |
| ส่งคำสั่งเคาะซื้อผลักดันราคาอีกครั้ง ซึ่งมีผลทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
| นักลงทุนรายอื่นเข้ามาเคาะซื้อตามและทำให้เกิดการจับคู่กับคำสั่งเสนอขายที่ตั้งรอไว้ที่ 38 บาทในตอนแรก |
ราคาซื้อขายล่าสุดเพิ่มขึ้นจาก 34 บาทเป็น 36 บาท
ราคาซื้อขายล่าสุดเพิ่มขึ้นจาก 36 บาทเป็น 38 บาท
ราคาซื้อขายล่าสุดอยู่ที่ 38 บาท
การใส่-ถอนที่ระดับราคาเดียว (Spoofing)
| |
| เพื่ออำพรางให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่า มีความต้องการซื้อหรือขายมาก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง และ/หรือลวงบุคคลอื่นเพื่อซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นจริง |
| ส่งคำสั่งเสนอซื้อหรือเสนอขายในปริมาณมากและยกเลิกคำสั่งดังกล่าวภายหลังในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งมีการกระทำหลายครั้ง โดยไม่มีความประสงค์จะซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นจริง |
ตัวอย่างลำดับเหตุการณ์การส่งคำสั่งซื้อขายที่การใส่-ถอนที่ระดับราคาเดียว
| |
| ส่งคำสั่งเสนอขายรอไว้ที่ราคา 36.50 บาท (Best Offer ลำดับที่ 1) |
| ส่งคำสั่งเสนอซื้อมาตั้งรอไว้ที่ 36 บาท (Best Bid ลำดับที่ 1) ด้วยปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ |
| นักลงทุนรายอื่นเข้ามาเคาะซื้อที่ราคา 36.50 บาททำให้เกิดการจับคู่กับคำสั่งเสนอขายที่ตั้งรอไว้ |
| จากนั้นยกเลิกคำสั่งซื้อที่ตั้งรอไว้ออก |
ราคาล่าสุดเพิ่มขึ้นจาก 36.00 บาทเป็น36.50 บาท
ราคาล่าสุดอยู่ที่ 36.50 บาท
การใส่-ถอนที่หลายระดับราคา (Layering)
| |
| เพื่ออำพรางให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่า มีความต้องการซื้อหรือขายมาก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง และ/หรือลวงบุคคลอื่นเพื่อซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นจริง |
| ส่งคำสั่งเสนอซื้อหรือเสนอขายในปริมาณมากและยกเลิกคำสั่งดังกล่าวภายหลังในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งมีการกระทำหลายครั้ง โดยไม่มีความประสงค์จะซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นจริง |
ตัวอย่างลำดับเหตุการณ์การส่งคำสั่งซื้อขายที่การใส่-ถอนที่หลายระดับราคา
| |
| ส่งคำสั่งเสนอขายรอไว้ที่ราคา 36.50 บาท (Best Offer ลำดับที่ 1) |
| ส่งคำสั่งเสนอซื้อมาตั้งรอที่หลายระดับราคาด้วยปริมาณมากอย่างมีนัยสำคัญ |
| นักลงทุนรายอื่นเข้ามาเคาะซื้อที่ราคา 36.50 บาททำให้เกิดการจับคู่กับคำสั่งเสนอขายที่ตั้งรอไว้ |
| จากนั้นยกเลิกคำสั่งซื้อที่ตั้งรอไว้ทั้งหมดออก |
ราคาล่าสุดเพิ่มขึ้นจาก 36.00 บาทเป็น36.50 บาท
ราคาล่าสุดอยู่ที่ 36.50 บาท
การพยุงราคา (Maintaining the price)
| |
| เพื่อควบคุมราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมิให้เปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำลง |
| ส่งคำสั่งเคาะซื้อหรือเคาะขายในลักษณะแตกย่อยคำสั่งหลายครั้ง ด้วยปริมาณที่ไม่มีนัยสำคัญที่ระดับราคาเดิม ทั้งที่สามารถส่งคำสั่งซื้อหรือขายได้ภายในคราวเดียว |